มือถือ: 063 516 6296 โทร: 0 2956 6118 โทรสาร: 0 2956 6117 komcharne@gmail.com

ปัญหาขาดอาหารและโรคอ้วนในเด็กทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะรุนแรงขึ้น

ปัญหาขาดอาหารและโรคอ้วนในเด็กทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะรุนแรงขึ้น

 

ปัญหาขาดอาหารและโรคอ้วนในเด็ก

ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะรุนแรงขึ้น

 
ยูนิเซฟและองค์การอนามัยโลกชี้ว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังประสบกับวิกฤติด้านโภชนาการในเด็กทั้งที่ขาดอาหารและโรคอ้วน
 
องค์การกองทุนเพื่อเด็กเเห่งสหประชาชาติหรือ UNICEF และองค์การอนามัยโลกชี้ว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังประสบกับวิกฤติด้านโภชนาการ ทั้งทุพโภชนาการและโรคอ้วนในเด็ก ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจของภูมิภาคนี้เจริญเติบโตมาตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา
รายงานของยูนิเซฟกับองค์การอนามัยโลกชิ้นนี้ชี้ว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะประสบกับภาระค่าใช้จ่ายทางสาธารณสุขเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากปัญหาทุพโภชนาการและโรคอ้วนในเด็ก ที่ทวีความรุนแรงขึ้นในประเทศรายได้ปานกลาง อาทิ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และประเทศไทย
รายงานชิ้นนี้เปิดเผยว่า ในอินโดนีเซียเพียงประเทศเดียว ปัญหาทุพโภชนาการในเด็กเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการของเด็ก นำไปสู่การเกิดโรคที่ไม่ติดต่อหลายโรคซึ่งสร้างค่าใช้จ่ายทางสาธารณสุขถึงปีละ 2 เเสน 4 หมื่น8 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ
คุณ Dorothy Foote ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการระดับภูมิภาคแห่งยูนิเซฟ กล่าวว่าปัญหานี้จะทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งปัญหาโภชนาการของเด็กและคนทั่วไป
เธอกล่าวว่า แม้ว่าองค์การยูนิเซฟกังวลเป็นพิเศษเกี่ยวกับเด็ก เเต่ปัญหานี้ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในด็กเท่านั้น แต่เป็นปัญหาใหญ่ในกลุ่มประชากรทั่วไปโดยรวมอีกด้วย ปัญหานี้จะกระทบทั้งครอบครัว ชุมชน ตลอดจนรัฐบาล และสังคม เนื่องจากผลกระทบจากภาระทางสาธารณสุขที่เพิ่มขึ้นเท่าตัว
ในอินโดนีเซีย เด็ก 12 เปอร์เซ็นต์เป็นโรคอ้วน และเด็กอีก 12 เปอร์เซ็นต์ขาดอาหาร ในประเทศไทย รายงานชิ้นนี้ชี้ว่าปัญหานี้เพิ่มความรุนแรงขึ้น โดยเด็ก 7 เปอร์เซ็นต์ขาดอาหาร ขณะที่ เด็ก 11 เปอร์เซ็นต์เป็นโรคอ้วน
คุณ Foote กล่าวว่าภาวะทุพโภชนาการมีผลกระทบที่เรื้อรังและรุนแรง อาทิ ทำให้เกิดภาวะเเคระแกร็นในเด็ก ประเทศลาวมีอัตราเด็กตัวเเคระเเกร็นสูงถึง 44 เปอร์เซ็นต์ และอัตราเด็กแคระเเกร็นที่สูงนี้ยังพบในกัมพูชา พม่า ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียด้วย
คุณ Foote ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการระดับภูมิภาคแห่งยูนิเซฟ กล่าวว่า หากเด็กไม่ได้รับอาหารเพียงพอ จะมีผลกระทบทั้งความสูงและพัฒนาการต่างๆ ในร่างกาย และนอกจากปัญหาทุพโภชนาการแล้ว ภูมิภาคนี้ยังประสบกับปัญหาเด็กอ้วนเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
ในรายงานชิ้นนี้ สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาด้านอาหารในเด็ก เกิดจากการกินอาหารขยะกันมากขึ้น ทั้งที่เป็นอาหารแปรรูปและเครื่องดื่มที่มีไขมันไม่อิ่มตัวหรือมีปริมาณน้ำตาลสูง แต่มีคุณค่าทางอาหารต่ำ รายงานนี้ชี้ว่าการไม่ออกกำลังกายและวิถีชีวิตสมัยใหม่ก็มีบทบาทต่อเรื่องนี้
คุณ Foote กล่าวว่า คนในภูมิภาคยังด้อยความรู้เกี่ยวกับโภชนาการที่ดีต่อการเจริญเติบโตของเด็ก ไม่เฉพาะในระดับประชาชนเท่านั้น แต่ในระดับรัฐบาลและผู้ร่างนโยบายอีกด้วย
การเติบโตทางเศรษฐกิจได้นำไปสู่การขยายตัวของตลาดอาหารที่ไม่มีคุณค่าต่อร่างกายไปยังเขตชนบท รวมทั้งครอบครัวคนยากจนและคนชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อหาผลิตภัณฑ์อาหารขยะไปรับประทาน แทนที่จะเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
ทางยูนิเซฟและองค์การอนามัยโลกชี้ว่า รัฐบาลในประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้องควบคุมการขายอาหารขยะเเละเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงแก่เด็กให้เข้มงวดมากขึ้นและควบคุมไม่ให้ขายอาหารไม่มีคุณค่าเหล่านี้ในโรงเรียน ปัญหาเด็กขาดอาหารยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการที่มารดาเลิกเลี้ยงบุตรด้วยน้ำนมตนเองอีกด้วย โดยหันไปใช้นมผงแทน
รายงานชิ้นนี้ยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลในประเทศต่างๆ ปรับปรุงแนวการเลี้ยงทารกและเด็กเล็ก จัดหาการบำบัดเเก่เด็กที่เกิดภาวะทุพโภชนาการรุนแรง เพิ่มความหลากหลายของผลผลิตทางการเกษตร ส่งเสริมความสะอาดของอาหาร และต้องส่งเสริมให้เด็กผู้หญิงไปโรงเรียนให้นานปีมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
นอกจากนี้รายงานของยูนิเซฟกับองค์การอนามัยโลก ยังต้องการให้รัฐบาลต่างๆ เดินหน้าต่อไปเพื่อลดความยากจนลง
 
(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)
ที่มา : http://www.voathai.com/a/asia-child-nutrition-tk/3331820.html?ltflags=mailer
 

องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ แนะให้ลดเกลือในอาหาร… ลดความดัน ลดเครียด

องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ แนะให้ลดเกลือในอาหาร… ลดความดัน ลดเครียด

 
องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ แนะให้ลดเกลือในอาหาร… 
ลดความดัน ลดเครียด
The FDA would like to see food manufacturers and restaurants cut the amount of sodium in their food by one-third over the next decade.
องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ให้คำแนะนำว่า ปริมาณโซเดียมในอาหารที่เรารับประทานต่อวันไม่ควรเกินกว่า 2,300 มิลลิกรัม
องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ มีคำแนะแนวใหม่ออกมาสำหรับผู้ผลิตอาหารและร้านอาหารทั่วไปว่า ขอให้พยายามลดเกลือหรือโซเดียมในอาหารลงให้ได้หนึ่งในสาม ในช่วงสิบปีข้างหน้า
ข้อเสนอนี้เป็นเพียงการแนะนำเท่านั้น ไม่ใช่คำสั่ง เป้าหมายที่องค์การอาหารและยาสหรัฐหวัง คือการลดเกลือในอาหารลง จะช่วยให้คนอเมริกันเป็นความดันโลหิตสูง หรือความเครียดน้อยลง
องค์การอาหารและยาของสหรัฐให้คำแนะนำว่า ปริมาณโซเดียมในอาหารที่เรารับประทานต่อวันนั้น ไม่ควรเกินกว่า 2,300 มิลลิกรัม ในขณะนี้ คนอเมริกันรับประทานอาหารที่มีโซเดียมผสมใส่ไว้ โดยเฉลี่ยแล้ววันละ 3,400 มิลลิกรัม
นายแพทย์ Thomas Frieden ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสาธารณสุขศาสตร์ของ CDC หรือศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ ได้เขียนบทบรรณาธิการออนไลน์สนับสนุนข้อเสนอแนะนี้ไว้ในวารสารของสมาคมการแพทย์อเมริกัน หรือ The Journal of the American Medical Association (JAMA)
รัฐมนตรี Sylvia Burwell ของกระทรวงสาธารณสุขและการพัฒนามนุษย์ ให้ความเห็นในเรื่องนี้ไว้ด้วยว่า คนอเมริกันเป็นจำนวนมาก อยากจะลดโซเดียมในอาหารที่รับประทาน แต่เป็นเรื่องทำได้ยาก เมื่อผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่หาซื้อได้ตามร้านค้าและร้านอาหาร มีโซเดียมผสมไว้อยู่แล้ว
ข้อเสนอแนะใหม่นี้จะช่วยให้ผู้บริโภคควบคุมปริมาณเกลือหรือโซเดียมในอาหาร และปรับปรุงสุขภาพของตนเองได้ดีขึ้น
แต่มีนักวิทยาศาสตร์บางคน อย่างเช่น ผู้บริหาร Cleveland Clinic ซึ่งมีชื่อเสียงในเรื่องโรคหัวใจ ที่ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะใหม่นี้ โดยให้ความเห็นว่า หลักวิทยาศาสตร์ในเรื่องนี้ ไม่ชัดเจนพอที่จะบอกว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างโซเดียมกับโรคหัวใจ
เจ้าหน้าที่อาวุโสขององค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ กล่าวย้ำว่า ข้อเสนอแนะนี้เป็นเรื่องของความสมัครใจ ไม่ใช่คำสั่ง เพราะโซเดียมมีความสำคัญในการผลิตอาหาร โดยเฉพาะในเรื่องรสชาติ เนื้อหา และความปลอดภัยทางจุลินทรีย์
ดังนั้นจึงจะต้องมีการพิจารณาเรื่องนี้กันอย่างรอบคอบ
ที่มา : http://www.voathai.com/a/sodium-cutbacks-nm/3359981.html?ltflags=mailer
#โซเดียม #เครื่องปรุง #ธรรมชาติ #ปลอดสาร #สุขภาพ #คูเน่ #sodium #seasoning #natural #health #kuune

 

การกินน้ำตาลในปริมาณมากมีผลเสียต่อสุขภาพเด็ก

การกินน้ำตาลในปริมาณมากมีผลเสียต่อสุขภาพเด็ก ผลการศึกษาชิ้นล่าสุดชี้ว่าเด็กที่รับประทานน้ำตาลน้อยลงจะมีอาการของโรคในกลุ่มเมตาโบลิคซินโดรมน้อยลง การกินน้ำตาลในปริมาณมากมีผลเสียต่อสุขภาพเด็ก ผลการศึกษาชิ้นล่าสุดชี้ว่าเด็กที่รับประทานน้ำตาลน้อยลงจะมีอาการของโรคในกลุ่มเมตาโบลิคซินโดรมน้อยลง

ผลการศึกษานี้ตีพิมพ์ในวารสาร Obesity เมื่อไม่นานมานี้ เป็นผลงานของทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย University of California San Francisco กับมหาวิทยาลัย Touro University California เปิดเผยว่า การกินน้ำตาลน้อยลงช่วยลดระดับไขมันในกระเเสเลือด ลดอาการความดันโลหิตสูง ตลอดจนโรคในกลุ่มเมตาโบลิคซินโดรม โดยไม่ต้องลดปริมาณแคลอรี่ที่ร่างกายได้รับหรือโดยไม่ต้องลดน้ำหนักตัว คุณ Robert Lusting ผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อในเด็กที่ Benioff Children’s Hospital San Francisco แห่งมหาวิทยาลัย University of California San Francisco หรือ UCSF ซึ่งเป็นสมาชิกทีมวิจัยกล่าวว่า การศึกษาชิ้นนี้ช่วยยืนยันได้ว่าน้ำตาลมีผลเสียต่อระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกายและส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ในกลุ่มเมตาโบลิคซินโดรม ผลการศึกษานี้ถือเป็นข้อมูลที่หนักแน่นมากที่สุดเท่าที่มีมา ซึ่งชี้ให้เห็นผลเสียของน้ำตาลต่อร่างกายโดยไม่เกี่ยวข้องกับปริมาณพลังงานที่ร่างกายได้รับหรือความอ้วน ด้านคุณ Jean-Marc Schwarz ผู้เชี่ยวชาญแห่งวิทยาลัยการแพทย์ Osteopathic Medicine มหาวิทยาลัย Touro University California ซึ่งเป็นสมาชิกในทีมวิจัยกล่าวว่าผลการศึกษานี้มีความสำคัญมากและช่วยเน้นย้ำความจำเป็นที่ผู้ปกครองควรใส่ใจกับปริมาณน้ำตาลที่ลูกรับประทาน ทีมนักวิจัยทำการศึกษาเรื่องนี้ด้วยการเฝ้าติดตามเด็ก 43 คน อายุระหว่าง 9-18 ปี ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังในกลุ่มเมตาโบลิคซินโดรมโรคใดโรคหนึ่ง ในการศึกษา เด็กๆ ได้รับอาหารที่ควบคุมระดับน้ำตาลนานเก้าวัน และอาหารดังกล่าวมีปริมาณแป้งเพิ่มมากขึ้นเพื่อคงระดับไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และปริมาณพลังงานหรือแคลอรี่ที่ได้รับ ให้เท่ากับระดับที่เด็กๆ ได้รับก่อนหน้าการวิจัย ทีมนักวิจัยชี้ว่าจากปริมาณพลังงานทั้งหมดที่เด็กๆ ได้รับ เป็นน้ำตาลราว 10-28 เปอร์เซ็นต์และปริมาณ Fructose ราว 4-12 เปอร์เซ็นต์ ทีมนักวิจัยชี้ว่าหลังจากลดปริมาณน้ำตาลที่ผสมในอาหารลง เด็กๆ บอกว่ารู้สึกอิ่มมากกว่าเดิม ทั้งๆ ที่อาหารควบคุมน้ำตาลให้ปริมาณแคลอรี่แก่ร่างกายเท่าเดิมเพียงแต่ลดปริมาณน้ำตาลลงเท่านั้น เด็กบางคนในการทดลองบอกว่ารู้สึกว่าได้รับปริมาณอาหารมากกว่าเดิม คุณ Robert Lusting นักวิจัยชี้ว่าผลการศึกษานี้ได้ผลที่น่าพอใจมาก เด็กๆ ในการทดลองมีระดับความดันโลหิตลดลง ระดับไขมันในเส้นเลือดต่ำลงและการทำงานของตับดีขึ้น เขากล่าวว่าปัญหาสุขภาพต่างๆ ที่เกิดจากความบกพร่องของระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกายเริ่มดีขึ้น เพียงแค่ทดแทนน้ำตาลในอาหารแปรรูปด้วยคาร์โบไฮเดรต โดยไม่ต้องลดน้ำหนักตัวหรือออกกำลังกายแต่อย่างใด ทีมนักวิจัยชี้ว่าการศึกษานี้เเสดงให้เห็นว่า แคลอรี่ไม่ใช่ตัวสร้างปัญหาสุขภาพ แต่แหล่งที่มาของแคลอรี่ต่างหากที่เป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพ และการศึกษานี้ชี้ว่าแคลอรี่ที่มาจากน้ำตาลสร้างผลเสียต่อสุขภาพมากที่สุด เพราะจะถูกแปลงเป็นไขมันในตับ นำไปสู่อาการต้านอินซูลินและกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจและโรคตับตามมา ที่มา : http://www.voathai.com/content/kids-sugar-tk/3074539.html ผลการศึกษานี้ตีพิมพ์ในวารสาร Obesity เมื่อไม่นานมานี้ เป็นผลงานของทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย University of California San Francisco กับมหาวิทยาลัย Touro University California เปิดเผยว่า การกินน้ำตาลน้อยลงช่วยลดระดับไขมันในกระเเสเลือด ลดอาการความดันโลหิตสูง ตลอดจนโรคในกลุ่มเมตาโบลิคซินโดรม โดยไม่ต้องลดปริมาณแคลอรี่ที่ร่างกายได้รับหรือโดยไม่ต้องลดน้ำหนักตัว คุณ Robert Lusting ผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อในเด็กที่ Benioff Children’s Hospital San Francisco แห่งมหาวิทยาลัย University of California San Francisco หรือ UCSF ซึ่งเป็นสมาชิกทีมวิจัยกล่าวว่า การศึกษาชิ้นนี้ช่วยยืนยันได้ว่าน้ำตาลมีผลเสียต่อระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกายและส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ในกลุ่มเมตาโบลิคซินโดรม ผลการศึกษานี้ถือเป็นข้อมูลที่หนักแน่นมากที่สุดเท่าที่มีมา ซึ่งชี้ให้เห็นผลเสียของน้ำตาลต่อร่างกายโดยไม่เกี่ยวข้องกับปริมาณพลังงานที่ร่างกายได้รับหรือความอ้วน ด้านคุณ Jean-Marc Schwarz ผู้เชี่ยวชาญแห่งวิทยาลัยการแพทย์ Osteopathic Medicine มหาวิทยาลัย Touro University California ซึ่งเป็นสมาชิกในทีมวิจัยกล่าวว่าผลการศึกษานี้มีความสำคัญมากและช่วยเน้นย้ำความจำเป็นที่ผู้ปกครองควรใส่ใจกับปริมาณน้ำตาลที่ลูกรับประทาน ทีมนักวิจัยทำการศึกษาเรื่องนี้ด้วยการเฝ้าติดตามเด็ก 43 คน อายุระหว่าง 9-18 ปี ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังในกลุ่มเมตาโบลิคซินโดรมโรคใดโรคหนึ่ง ในการศึกษา เด็กๆ ได้รับอาหารที่ควบคุมระดับน้ำตาลนานเก้าวัน และอาหารดังกล่าวมีปริมาณแป้งเพิ่มมากขึ้นเพื่อคงระดับไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และปริมาณพลังงานหรือแคลอรี่ที่ได้รับ ให้เท่ากับระดับที่เด็กๆ ได้รับก่อนหน้าการวิจัย ทีมนักวิจัยชี้ว่าจากปริมาณพลังงานทั้งหมดที่เด็กๆ ได้รับ เป็นน้ำตาลราว 10-28 เปอร์เซ็นต์และปริมาณ Fructose ราว 4-12 เปอร์เซ็นต์ ทีมนักวิจัยชี้ว่าหลังจากลดปริมาณน้ำตาลที่ผสมในอาหารลง เด็กๆ บอกว่ารู้สึกอิ่มมากกว่าเดิม ทั้งๆ ที่อาหารควบคุมน้ำตาลให้ปริมาณแคลอรี่แก่ร่างกายเท่าเดิมเพียงแต่ลดปริมาณน้ำตาลลงเท่านั้น เด็กบางคนในการทดลองบอกว่ารู้สึกว่าได้รับปริมาณอาหารมากกว่าเดิม คุณ Robert Lusting นักวิจัยชี้ว่าผลการศึกษานี้ได้ผลที่น่าพอใจมาก เด็กๆ ในการทดลองมีระดับความดันโลหิตลดลง ระดับไขมันในเส้นเลือดต่ำลงและการทำงานของตับดีขึ้น เขากล่าวว่าปัญหาสุขภาพต่างๆ ที่เกิดจากความบกพร่องของระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกายเริ่มดีขึ้น เพียงแค่ทดแทนน้ำตาลในอาหารแปรรูปด้วยคาร์โบไฮเดรต โดยไม่ต้องลดน้ำหนักตัวหรือออกกำลังกายแต่อย่างใด ทีมนักวิจัยชี้ว่าการศึกษานี้เเสดงให้เห็นว่า แคลอรี่ไม่ใช่ตัวสร้างปัญหาสุขภาพ แต่แหล่งที่มาของแคลอรี่ต่างหากที่เป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพ และการศึกษานี้ชี้ว่าแคลอรี่ที่มาจากน้ำตาลสร้างผลเสียต่อสุขภาพมากที่สุด เพราะจะถูกแปลงเป็นไขมันในตับ นำไปสู่อาการต้านอินซูลินและกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจและโรคตับตามมา

ที่มา : http://www.voathai.com/content/kids-sugar-tk/3074539.html

โรคอ้วนทำให้ชาวอเมริกันใช้ยาตามใบสั่งแพทย์มากขึ้น

ผลการศึกษาชิ้นใหม่ชี้ว่าคนอเมริกันใช้ยาตามใบสั่งแพทย์มากขึ้นกว่าในอดีตเพื่อบำบัดโรคต่างๆ ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากโรคอ้วน

ผลการศึกษาชิ้นล่าสุดชี้ว่าชาวอเมริกันในปัจจุบันใช้ยาตามใบสั่งแพทย์กันมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา เพื่อบำบัดโรคหลายโรครวมทั้งเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นโรคที่เราสามารถป้องกันได้ Dr. Elizabeth Kantor ผู้เชี่ยวชาญแห่ง Sloan-Kettering Memorial Cancer Center กล่าวว่าการใช้ยาตามใบสั่งแพทย์เพื่อบำบัดโรคเหล่านี้สูงมาก ในกลุ่มคนอเมริกันที่อายุสูงขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มคนที่อายุ 65 ปีขึ้นไป แต่การวิจัยชิ้นนี้ศึกษาการใช้ยารักษาโรคที่มากับโรคอ้วนตามใบสั่งแพทย์ในกลุ่มคนอเมริกันอายุน้อยโดยเริ่มตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปอีกด้วย และผลที่ได้ออกมาคล้ายคลึงกัน Dr. Elizabeth Kantor ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การศึกษาพบว่ามีการใช้ยาควบคุมความดันเลือด เบาหวาน ไขมันในเส้นเลือด โรคซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้นทั้งหมด และยาที่ใช้กันทั่วไปที่สุดคือยาประเภท statin ที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการอาการเส้นเลือดในสมองแตก หัวใจวายและโรคที่เกิดกับหลอดเลือดและหัวใจ การศึกษานี้พบว่าผู้ใหญ่ชาวอเมริกันเกือบ 8 เปอร์เซ็นต์กำลังใช้ยาชนิดนี้อยู่ในปัจจุบัน Dr. Elizabeth Kantor กล่าวว่าเมื่อศึกษายาที่ใช้กันทั่วไปอย่างน้อย 10 ชนิดในปี ค.ศ. 2011-2012 พบว่าคนอเมริกันใช้ยาเหล่านี้เพื่อบำบัดอาการป่วยที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดและหัวใจเช่นเดียวกับโรคอื่นๆ ที่นำไปสู่การเกิดโรคหัวใจ ทีมวิจัยยังพบด้วยว่า จำนวนคนอเมริกันที่ต้องใช้ยาหลายตัวเพื่อบำบัดอาการต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวภายในระยะเวลา 10 ปี ในการศึกษานี้ นักวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยจำนวนมากเป็นเวลานานสองปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 – 2000 และจากปี ค.ศ. 2011 – 2012 การศึกษานี้จัดทำโดยทีมนักวิจัยที่วิทยาลัยการแพทย์มหาวิทยาลัย Harvard และตีพิมพ์ในวารสาร Journal of the American Medical Association ไปเมื่อเร็วๆ นี้ ที่มา : http://www.voathai.com/content/health-us-rx-drugs-obesity-tk/3066274.html

Page 1 of 712345...Last »