มือถือ: 063 516 6296 โทร: 0 2956 6118 โทรสาร: 0 2956 6117 komcharne@gmail.com

ความไม่พร้อม มักมาพร้อมกับโอกาสดีๆ เสมอ

Positive Thinking…คิดบวก++

คิดบวก?…คน มองโลกในแง่ดี มักมีโอกาสดีกว่าคนอื่นเสมอ เพราะเมื่อมองทุกอย่างเป็นบวก ก็ช่วยให้มีสุขภาพจิตดี ความคิดโปร่งใส ทำอะไรก็ดูจะสบายๆกว่าคนอื่น ในแง่ดียังมีแนวโน้มว่าจะมีอายุยืนยาวกว่าคนอื่นได้ด้วย สิ่งสำคัญไม่ได้ อยู่ที่โลกมีแง่มุมมากมายให้มอง แต่อยู่ที่เราจะเลือกมองมุมไหน โลกใบนี้ มีมุมดีๆให้มอง แค่มองเห็นว่า….    – คนทุกคนมีเหตุผลในการทำสิ่งต่างๆ เสมอ    – ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้…แต่ทุกปัญหาแก้ไขได้    – สิ่งร้ายๆ จะมาพร้อมกับสิ่งดีๆ เสมอ    – ความมืดในเวลากลางคืนมีแต่ 12 ชั่วโมง    – หลังฝนตกหนักแล้วฟ้าจะปลอดโปร่ง    – ของบางอย่างไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็นของเรา    – ชีวิตเป็นของเรา    – ถนนบางสายไกลหน่อย แต่ก็ยังมีวันถึง     – ฝันร้ายเป็นแค่ความฝัน    – อุปสรรคทำให้ชีวิตมีสีสัน    – ความเจ็บปวดทำให้หัวใจแข็งแกร่ง    – ทุกๆอย่างมีระยะเวลาของมัน    – การร้องไห้ทำให้ดวงตาใสขึ้น    – ตัวเรายังไม่ได้อย่างใจเรา แล้วคนอื่นจะเป็นได้อย่างไร    – เมื่อมาถึงจุดที่หนักที่สุดแล้ว หลังจากนั้นทุกอย่างจะผ่อนคลายลง    – มีไม่มากแต่ก็มีพอ    – ความอ้วนทำให้ใบหน้าอิ่มเอิบ    – ความผอมทำให้เสื้อผ้าดูดี    – ถ้าวิ่งจะถึงเร็วขึ้น     – ถ้าค่อยๆเดิน จะไม่เหนื่อย  ข้อ จำกัดของคนเรามีมากมาย ทั้งเวลา อายุ ฉะนั้นอย่าปล่อยให้อารมณ์และความคิดของเรามาเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต ในเมื่อเวลามีน้อยนักก็ต้องรู้จักใช้ชีวิตให้สมดุล เพื่อกระตุ้นให้ชีวิตมีความสุข มีจินตนาการ และมีพลังในการทำงานต่อไป

 ที่มา : http://www.job-passport.com/th/tip_and_trick_detail.php?id=113

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตทางชีวภาพ

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตทางชีวภาพ


สิ่ง มีชีวิตหลายชนิดอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตและมีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกัน ทั้งในลักษณะพึ่งพาอาศัยกันในรูปแบบต่างๆ เช่น การเอื้อประโยชน์ต่อกัน การแก่งแย่งแข่งขันกัน เป็นศัตรูต่อกันและที่สำคัญที่สุด คือเป็นอาหารซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดการถ่ายทอดพลังงานแก่กันในระบบนิเวศ โดยผ่านการกินกันเป็นทอดๆ ตามลำดับเรียกว่าห่วงโซ่อาหาร (food chain) ห่วงโซ่อาหารอาจจะสัมพันธ์กันอย่างสลับซับซ้อนในรูปของสายใยอาหาร (food web) ถ้า พิจารณาความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศแบบต่างๆ จะมีความสัมพันธ์กันอย่างหลากหลาย เราแบ่งชนิดความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศได้ หลายรูปแบบดังนี้

ความสัมพันธ์ด้านอาหาร

ความสัมพันธ์ด้านอาหาร แบ่งออกเป็น กลุ่ม คือ
1.
ผู้ผลิต (producer) คือ สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้เอง ทำหน้าที่เป็นแหล่งอาหารทั้งทางตรงและทางอ้อมในระบบนิเวศ เช่น กลุ่มพืช สามารถสร้างอาหารได้เองโดยกระบวนการสังเคราะห์
2.
ผู้บริโภค (consumer) คือ สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้ สิ่งมีชีวิตพวกนี้จะกินสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เป็นอาหาร เป็นผู้บริโภคนั่นเอง เช่น สัตว์ต่างๆ ซึ่งเราแบ่งออกเป็น กลุ่ม คือ ผู้บริโภคพืชเป็นอาหาร ได้แก่ วัว ควาย ม้า ช้าง ฯลฯ ผู้บริโภคสัตว์เป็นอาหาร เช่น เสือ สิงโต เหยี่ยว งู ฯลฯ ผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร เช่น คน สุนัข นก แมว และผู้บริโภคซากพืช ซากสัตว์เป็นอาหาร เช่น ไส้เดือน นกแร้ง ปลวก ฯลฯ
3.
ผู้ย่อยอินทรีย์สาร (decomposer) เป็น สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้ จะบริโภคอาหารโดยการย่อยสลายสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ตายลงเป็นอาหาร ได้แก่ พวกจุลินทรีย์ เป็นต้น

 

ความสัมพันธ์กันตามภาวะการล่าเหยื่อ

ความสัมพันธ์กันตามภาวะการล่าเหยื่อ (predation) เป็นความสัมพันธ์พื้นฐานในการหาอาหารของสิ่งมีชีวิต คือ
1.
ผู้ล่า (predator) เป็นฝ่ายที่ได้รับประโยชน์ จะมีขนาดใหญ่กว่า แข็งแรงกว่าอีกฝ่ายที่เสียประโยชน์
2.
เหยื่อ (prey) เป็น ฝ่ายที่เสียประโยชน์เพราะถูกกินเป็นอาหาร จะมีขนาดเล็กกว่าอ่อนแอกว่า เช่น สิงโตล่ากวาง แมวจับหนู เหยี่ยวล่ากระต่าย นกกินหนอน งูกินนก เหยี่ยวกินงู เป็นต้น

 

ความสัมพันธ์ด้านผลประโยชน์

ความสัมพันธ์ด้านผลประโยชน์

1.ภาวะปรสิต (parasitism) เป็น ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่ฝ่ายหนึ่งได้รับประโยชน์ อีกฝ่ายเสียประโยชน์ โดยฝ่ายที่ได้รับประโยชน์จะอาศัยอยู่ในร่างกายของผู้เสียประโยชน์ เรียกว่าสิ่งมีชีวิตที่ได้รับประโยชน์ว่า ปรสิต (parasite) และเรียกสิ่งมีชีวิตที่เสียประโยชน์ว่า ผู้ถูกอาศัย (host) โดย ปรสิตจะแย่งอาหารหรือกินบางส่วนของร่างกายผู้ถูกอาศัย เช่น กาฝากบนต้นไม้ กาฝากเป็นปรสิตได้รับอาหารจากต้นไม้ที่อยู่อาศัย ฝ่ายต้นไม้จะเสียประโยชน์เพราะถูกแย่งอาหารไป
2.
ภาวะอิงอาศัย (commensalism)เป็น ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ แต่อีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ เช่น เฟิร์น กล้วยไม้ พลูด่าง ที่เกาะบนเปลือกต้นไม้ จะใช้ต้นไม้เป็นแหล่งที่อยู่และให้ความชื้นโดยไม่เบียดเบียนอาหารจากต้นไม้ เลย
3.
ภาวะการได้ประโยชน์ร่วมกัน (protocooperation) เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต ชนิด ที่อาศัยอยู่ร่วมกันตางฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน แต่เมื่อแยกออกจากกันแต่ละฝ่ายสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยลำพัง เช่น ผีเสื้อกับดอกไม้ นกเอี้ยงบนหลังควาย มดดำกับเพลี้ย ซีแอนนีโมนีที่เกาะอยู่บนหลังปูเสฉวน เป็นต้น
4.
ภาวะพึ่งพากัน (mutualism) เป็น ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่ทั้งสองฝ่ายต่างพึ่งพาอาศัยอยู่ด้วยกัน ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ร่วมกัน หากแยกออกจากกันไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่น แบคทีเรียไรโซเบียมที่อาศัยอยู่ที่ปมรากพืชตระกูลถั่ว โดยแบคทีเรียไรโซเบียมจะจับไนโตรเจนจากอากาศแล้วเปลี่ยนเป็นสารประกอบไนเตรด ส่วนแบคทีเรียได้พลังงานจากการสลายสารอาหารที่อยู่ในรากพืช รากับสาหร่ายที่อยู่รวมกันเป็นไลเคน โดยสาหร่ายสร้างอาหารได้เองแต่ต้องอาศัยความชื้นจากเชื้อรา ส่วนราก็อาศัยดูดอาหารที่สาหร่ายสร้างขึ้นและให้ความชื้นกับสาหร่าย
5.
ภาวะมีการย่อยสลาย (saprophuistm) เป็นความสัมพันธ์ที่สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งได้รับประโยชน์จากซากของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ได้แก่ จุลินทรีย์ เช่น แบคทเรีย รา และเห็ด

 

ที่มา : http://thitiwatwonghirundeha.blogspot.com/

5 เคล็ดลับทำตัวให้สุขได้ทุกวัน

5 เคล็ดลับทำตัวให้สุขได้ทุกวัน

“โลก ทุกวันอยู่กันยาก” ประโยคแบบนี้ฟังแล้วเหมือนกับว่ายอมให้ทุกอย่างรอบตัวกระทำกับเราอย่างโหด ร้าย แต่ในมุมกลับกันนั้น ถ้าเริ่มจากเราทำให้มันง่าย ง่ายตั้งแต่คิด ลงมือทำ และส่งต่อ จริงๆแล้วโลกก็จะอยู่ได้ง่ายและมีความสุขได้ทุกวัน

ปกติ ของดวงอาทิตย์ที่ยังขึ้นทางทิศตะวันออก และตกทางทิศตะวันตก เรื่องราวต่างๆในชีวิตก็ยังคงดำเนินไป สุขบ้าง ทุกข์บ้าง สัดส่วนเรื่องไหนจะเยอะกว่ากันก็คงต้องมาดูมาดูท่าทีที่เรามีต่อสิ่งแวดล้อม รอบตัว เคยตั้งข้อสังเกตว่า คนสมัยก่อนไม่มีอินเตอร์เน็ต ไม่มีโทรทัศน์ วิทยุ เขายังอยู่กันได้แบบมีความสุขทุกวัน แต่เหตุไฉนคนสมัยดีดูเพียบพร้อม สะดวกสบายทุกอย่าง แต่ดูกลับมีทุกข์ได้ทุกวัน

สุขหายากเพราะเราปฏิเสธมันเองโดยไม่รู้ตัว วันนี้ผมมีเคล็ดลับดีๆเกี่ยวกับการทำตัวเองให้มีความสุขทุกวันมาแบ่งปันกันครับ

  1. อย่าฝากความฝันความหวังกับคนอื่นมากเกินไป เรา ไม่เหมือนเขาและเขาก็ไม่เหมือนเรา ความคาดหวังคนเราต่างๆกัน หันมาค้นหาความต้องการที่แท้จริงของเราให้เจอ แล้วความสุขไม่ใช่เรื่องอยากที่เราจะสร้างขึ้นมา
  2. สัญญากับตัวเองว่า วันนี้ฉันจะค้นหาเรื่องที่ทำให้ฉันยิ้มได้อย่างน้อย 1 เรื่อง หากเจอมากกว่านั้น คือ ของแถม
  3. หัดทำอะไรเพื่อคนอื่นบ้าง การทำอะไรเพื่อคนอื่นบ้าง จะฝึกนิสัยการเสียสละ ลดทิฐิความเห็นแก่ตัวให้ลดน้อยลง ทำให้เรามีความสุขได้แบบไม่รู้ตัว
  4. ตัดบทด้วยประโยคเด็ดๆ เมื่อ ปัญหารุมเร้าแล้วยังไม่สามารถหาทางออกได้ในเวลานี้ เช่น ช่างหัวมัน,มันเป็นเช่นนั้นเอง,พรุ่งนี้เริ่มใหม่ เป็นต้น ประโยคเหล่านี้จะช่วยให้เราได้กลับมาตั้งสติ พิจารณา ลดทุกข์เพิ่มสุขได้
  5. เปิดบันทึกความสุข อะไรบ้างที่ทำให้เรามีความสุขได้ในแต่ละวัน ก่อนนอนอย่าลืมบันทึกไว้ และเมื่อไม่สบายใจจงเปิดบันทึกแห่งความสุข

5 เคล็ดลับนี้คงไม่ยากเกินไปที่จะทำให้เรามีความสุขได้ทุกวัน และอย่าลืมนะครับว่าสิ่งสำคัญของการมีความสุขได้ทุกวันนั้น อยู่ที่เรา ไม่ใช่อยู่ที่ใครรอบตัว เริ่มสุขที่เรา แล้วโลกจะสุขตามครับ

ที่มา : http://www.tonypuy.com/5-เคล็ดลับทำตัวให้สุขได้

ไขมันทรานส์ สารอาหารตัวร้าย มะกันห้ามใช้ไขมันทรานส์

มะกันห้ามใช้ไขมันทรานส์ 


“พาณิชย์” ชี้อเมริกา ออกระเบียบห้ามใช้ “ไขมันทรานส์”ในอุตสาหกรรมอาหาร–เครื่องดื่ม เริ่มมิ.ย.61 แนะผู้ประกอบการปรับตัวส่งออกไปยังสหรัฐ วันอังคารที่ 23 มิถุนายน 2558 เวลา 16:29 น. นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักงานอาหารและยาสหรัฐฯ ( เอฟดีเอ) ได้ประกาศห้ามใช้ไขมันทรานส์ เป็นส่วนผสมการผลิตสินค้าอาหารเพื่อมนุษย์รับประทาน เนื่องจากไม่ปลอดภัย แต่อนุโลมให้ผู้ผลิตอาหารยื่นคำร้องขออนุญาตใช้เป็นบางกรณี โดยเอฟดีเอให้เวลาอุตสาหกรรมอาหารในสหรัฐฯ 3 ปี ที่จะปรับกระบวนการผลิต ด้วยการเลิกใช้ไขมันทรานส์ มีผลบังคับในวันที่ 18 มิ.ย. 61 เป็นต้นไป ดังนั้นผู้ประกอบการไทย ต้องเตรียมตัวและวางแผนปรับปรุงกระบวนการใช้วัตถุดิบในการผลิต เพื่อให้ผลิตสินค้าอาหารไทยส่งไปยังสหรัฐฯด้วยการ ปลอดไขมันทรานส์ “การห้ามใช้ไขมันทรานส์ในสินค้าอาหารในระเบียบใหม่นี้ จะช่วยสุขภาพในด้านการลดปัญหาโรคหัวใจ หรือ ช่วยป้องกันโรคหัวใจวาย แม้ว่าผู้ผลิตอาหารในสหรัฐฯจะแย้งว่า ระดับไขมันทรานส์ในอาหารอยู่ในระดับต่ำมากอยู่แล้ว และมีความปลอดภัย” ทั้งนี้เอฟดีเอออกแถลงการณ์ระบุ การให้ไขมันทรานส์ หรือ ไขมันผ่านกรรมวิธีสังเคราะห์ ไปทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจน แล้วกลายเป็นของแข็งกึ่งเหลว เช่น เนยเทียม และมาการีน หรือมาในรูปแบบผง เช่น ผงครีมเทียม เป็นสารปรุงอาหารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ เมื่อรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันทรานส์ โดย พบมากในเค้ก คุกกี้ ขนมปัง และอาหารแช่แข็งอีกนานาชนิด ก็จะเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคหัวใจและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของชาวอเมริกันหลายล้านคนในแต่ละปี ขณะเดียวกันสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิสแจ้งว่าจากงานวิจัยระหว่างปี 52 -56 โดยได้เก็บข้อมูลมาจาก 3 กลุ่มห้างค้าปลีกรายใหญ่ของสหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 45%ของอุตสาหกรรมค้าปลีกทั้งหมด โดยเก็บข้อมูลมาจากสินค้าอาหารทั้งสิ้น 202 รายการ ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ประเภทธัญพืช พาสต้า ผัก ผลไม้ อาหารกล่อง นมและขนมขบเคี้ยว สินค้าจำพวกแคลอรี่ต่ำ (ให้พลังงานไม่เกิน 150 แคลอรี่ต่อการบริโภคหนึ่งครั้ง และเครื่องดื่มต้องอยู่ที่ 50 แคลอรี่ หรือ น้อยกว่า ) พบว่าสินค้าดังกล่าวได้เป็นตัวขับเคลื่อนการเจริญเติบโตของตลาด โดยมียอดขายเพิ่มขึ้นถึง 59%ขณะที่ประเภทของหวาน เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและพิซซ่าก็มียอดขายมากขึ้น 12%เช่นเดียวกัน ที่สำคัญ พบว่าชาวยุโรปทานผลไม้เป็นของว่างมากที่สุด ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเองก็ เช่นเดียวกัน โดยที่โยเกิร์ตมาเป็นลำดับที่ 1 ในละตินอเมริกา ในขณะที่ช็อคโกแลตเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ส่วนขนมขบเคี้ยวที่เป็นลำดับ 1 ของสหรัฐฯ คือ มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ ซึ่ง ยอดขายสินค้าอาหารและเครื่องดื่มแคลโลลี่ต่ าขยายตัวมากขึ้นในซูเปอร์มาร์เก็ตของสหรัฐฯ“

ที่มา : http://www.dailynews.co.th/economic/330205


ไขมันทรานส์ สารอาหารตัวร้าย
Article: นพ.นริศ เจนวิริยะ ศัลยแพทย์

     เมื่อ วันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ.2013 องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้ประกาศเลิกใช้ไขมันทรานส์ในอาหารที่มีขายโดยทั่วไปทั้งประเทศ ทำให้ไขมันทรานส์ได้รับความสนใจขึ้นมามาก การประกาศนี้เป็นผลตามหลังมาจากการผ่านกฎหมายท้องถิ่นของมลรัฐนิวยอร์คและคา ลิฟอร์เนียที่ห้ามใช้ไขมันทรานส์ในภัตตาคารในปี ค.ศ.2006 และ ค.ศ.2008 ตามลำดับ ขณะนี้บริษัทอาหารจานด่วนยักษ์ใหญ่อย่างแมคโดนัลด์และดังกิ้นโดนัทก็ได้ เริ่มทำการเปลี่ยนสูตรอาหารไร้ไขมันทรานส์กันแล้ว

ไขมันทรานส์คืออะไร

     ไข มันทรานส์ คือ ไขมันที่ผ่านกระบวนการเพิ่มอะตอมไฮโดรเจนเข้าไปในโมเลกุล ทำให้คุณสมบัติของไขมันเปลี่ยนแปลงไป โดยจะแข็งตัวมีทรงมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลง เสื่อมเสีย เหม็นหืนช้าลง ดังนั้นอาหารที่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์จึงเก็บได้นานขึ้นและมีความเป็นมัน ย่องน้อยลง มีรสชาติดี ไม่เละ และมีความนุ่มนวลมากขึ้น อุตสาหกรรมอาหารจึงนิยมใช้ผสมในอาหารและขนม แต่ตอนนี้ได้เริ่มมีการบังคับให้เปลี่ยนสูตรอาหารแล้ว

ไขมันทรานส์มาจากไหน

     ไข มันทรานส์นี้ส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่คนเราทำขึ้นและนำเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรม อาหารตั้งแต่ช่วงประมาณปี ค.ศ.1950 เป็นต้นมา ส่วนไขมันทรานส์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติก็มี เช่น ในเนื้อวัว เนื้อหมู แต่ไม่ควรกินมาก 

อาหาร ที่มีไขมันทรานส์อยู่มาก เช่น ขนมปังกรอบ คุกกี้ เค้ก อาหารทอด เช่น ขนมโดนัท เฟรนช์ฟราย มันทอด ไก่ย่าง กล้วยแขก ปาท่องโก๋ อาหารที่ทอดในน้ำมันซ้ำๆ ก็ยิ่งมีไขมันทรานส์มาก จึงควรหลีกเลี่ยง รวมทั้งอาหารที่ใส่ shortening (สารที่ทำให้อาหารมีความแข็ง เป็นรูปทรง ไม่เละ) ได้แก่ เนย มาร์การีน ก็มีไขมันทรานส์มาก ควรหลีกเลี่ยงหรือลด ละ เลิก

ผลร้ายจากไขมันทรานส์

     หลัง จากคนเราบริโภคไขมันทรานส์มานาน ก็ได้มีการศึกษามากมายแสดงผลเสียของมันต่อสุขภาพ กรมควบคุมและป้องกันโรคอเมริกันได้ประเมินว่า ในแต่ละปีไขมันทรานส์มีส่วนทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 20,000 ราย และมีการตายที่เกี่ยวเนื่องกับโรคหัวใจ 7,000 ราย จากสถิติที่สูงแน่ชัดอย่างนี้ทำให้องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาต้องออกมา ประกาศว่าไขมันทรานส์ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคอีกต่อไป ภัตตาคารต่างๆ ที่มักจะใช้ไขมันทรานส์ในการทอดอาหาร เมื่อมีกฎห้ามใช้ก็จำเป็นต้องหาน้ำมันอย่างอื่นมาใช้แทน ที่สหรัฐอเมริกาสามารถบังคับใช้กฎหมายแบบนั้นได้ แต่เมืองไทยคงยาก เราต้องค่อยๆ ปรับตัวตามเขาไปกินในสิ่งที่ดีกว่า

      ใน บรรดาไขมันที่เราบริโภคทั้งหลาย ไขมันทรานส์ (ทางเคมีเรียกว่า กรดไขมันทรานส์) หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า trans fat หรือ trans fatty acid เป็นไขมันตัวร้ายที่สุด เนื่องจากมีความแตกต่างจากไขมันตัวอื่นตรงที่เมื่อกินเข้าไปแล้วจะเพิ่มคอเล สเตอรอลตัวร้าย หรือ LDL cholesterol และลดระดับคอเลสเตอรอลตัวดีคือ HDL cholesterol สองอย่างนี้ทำให้เกิดการพอกพูนของตะกรันคอเลสเตอรอลที่ผนังหลอดเลือด อาจจะเรียกได้ว่าร้ายยกกำลังสอง (กว่าไขมันตัวอื่น) ทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว ตีบตัน ส่งผลให้อวัยวะที่หลอดเลือดนั้นนำเลือดไปเลี้ยงขาดเลือดขาดออกซิเจน เช่น หัวใจขาดเลือด (หัวใจวาย) สมองขาดเลือด (เป็นอัมพาต อัมพฤกษ์) หรือไตขาดเลือด (ไตวาย) ฯลฯ

     ใน หลายกรณีตะกรันคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดมักหลุดลอกทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตัน หลอดเลือดอย่างเฉียบพลัน มีอาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือดอย่างเฉียบพลัน หรือในกรณีหลอดเลือดในสมองก็เกิดอาการทางสมองเฉียบพลัน เช่น ปากเบี้ยว แขนอ่อนแรงเฉียบพลัน นอกจากไขมันทรานส์จะทำให้คอเลสเตอรอลตัวร้ายสูงขึ้นแล้ว ยังมีผลเสียอื่นคือทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) เพิ่มสูงขึ้นด้วย ซึ่งมีผลเสียต่อหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัวตีบตันได้เช่นกัน

เลือกกินอย่างไรให้ปลอดภัย

     สิ่ง หนึ่งที่เราทำได้คืออ่านฉลากอาหารก่อนซื้อ รัฐบาลสหรัฐอเมริกามีกฎให้อุตสาหกรรมอาหารต้องมีฉลากติดข้างกล่องระบุว่า อาหารมีส่วนประกอบอะไรบ้าง มีไขมันทรานส์เท่าไหร่ การอ่านฉลากต้องมีความเข้าใจศัพท์พอสมควร เช่น 

     No trans fat ไม่ ได้หมายความว่าไม่มีไขมันทรานส์เลย อาจหมายความว่ามีไขมันทรานส์ 0.5 กรัม เพราะเขาอนุญาตให้ติดฉลาด no trans fat ได้ถ้าจำนวนไขมันทรานส์ต่ำกว่า 0.5 กรัม ดังนั้นถ้าเรากินมันเข้าไปมากก็จะได้ไขมันทรานส์มาก 

      Partially hydrogenated oil ก็หมายถึง ไขมันทรานส์นั่นเอง 

      Fully หรือ completely hydrogenated fat ไม่ใช่ไขมันทรานส์ แต่จะเปลี่ยนเป็นไขมันชนิดอิ่มตัวแทน

      Hydrogenated fat อาจจะมีไขมันทรานส์อยู่ด้วย ผู้บริโภคที่ฉลาดจึงต้องมีความรู้และอ่านฉลากให้เป็น

อนึ่ง ไม่ใช่ไขมันทรานส์อย่างเดียวที่เราต้องหลีกเลี่ยง ไขมันอิ่มตัวทั้งหลายที่เมื่อกินเข้าไปแล้วจะกลายเป็นคอเลสเตอรอลเราก็ต้อง หลีกเลี่ยง ไม่ควรกินไขมันอิ่มตัวมาก ไขมันอิ่มตัวภาษาอังกฤษเรียกว่า saturated fat (เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว น้ำมันหมู หนังไก่ หนังเป็ด คอหมู ฯลฯ ) ควรเลือกกินไขมันตรงข้ามคือไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fat) ได้แก่ น้ำมันคาโนลา น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกคำฝอย ฯลฯ 

      ไขมัน ที่ดีๆ ที่ควรรู้มีอีกอย่างหนึ่งคือ น้ำมันปลา ซึ่งมีกรดไขมันโอเมก้า 3 อยู่มาก สารตัวนี้ทำให้ไขมันร้าย ไตรกลีเซอไรด์ลดลง อีกอย่างหนึ่งที่ควรใส่ใจคือ การจงใจกินคอเลสเตอรอล เช่น ไข่แดง (เพราะความอร่อย) มันก็จะไปกลายเป็นคอเลสเตอรอลในเลือดแน่นอน สำหรับคนที่คอเลสเตอรอลหรือไขมันในเลือดสูงจึงควร (ใช้สามัญสำนึก) หลีกเลี่ยง สำหรับคนที่ระดับคอเลสเตอรอลต่ำกินวันละ 1 ฟองไม่เป็นไร

      จำนวน ไขมันทรานส์ที่แนะนำให้บริโภคต่อวันไม่มีใครทราบแน่ว่าเท่าไหร่ดี แต่มักจะแนะนำกันว่าไม่ควรกินเกิน 1% ของจำนวนแคลอรีทั้งหมด หลายท่านอาจจะมีปัญหาเรื่องการคำนวณจำนวนแคลอรี ก็จำไว้ปฎิบัติง่ายๆ คือกินไขมันทรานส์ให้น้อยๆ เข้าไว้ ถ้าหลีกเลี่ยงอาหารทอดทั้งหลายและอาหารที่กล่าวถึงข้างต้นได้ก็จะดีครับ


ที่มา :  http://www.healthtoday.net/thailand/scoop/scoop_153.html

มาทำความรู้จักกับ “ฮาลาล” กันเถอะ

มาทำความรู้จักกับ ฮาลาล กันเถอะ

 

                ฮาลาล  เป็น คำมาจากภาษาอารบิก หมายความว่า การผลิต การให้บริการ หรือการจำหน่ายใด ๆ ที่ไม่ขัดต่อบัญญัติของศาสนา ดังนั้น เราจึงอาจกล่าวได้ว่า“อาหารฮาลาล” คือ อาหารที่ได้ผ่านกรรมวิธีในการทำ ผสม ปรุง ประกอบ หรือแปรสภาพ ตามศาสนบัญญัตินั่นเอง เป็นการรับประกันว่า ชาวมุสลิมโดยทั่วไปสามารถบริโภคอาหาร หรืออุปโภคสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ได้โดยสนิทใจ เราสามารถสังเกตผลิตภัณฑ์ว่าเป็น “ฮาลาล” หรือไม่นั้น ได้จากการประทับตรา “ฮาลาล” ที่ข้างบรรจุภัณฑ์นั้นเป็นสำคัญ

                เครื่องหมายฮาลาล” คือ เครื่องหมายที่คณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาลของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศ ไทย หรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดต่าง ๆ ได้อนุญาตให้ผู้ประกอบการทำการประทับ หรือแสดงลงบนสลาก หรือผลิตภัณฑ์ หรือกิจการใด ๆ โดยใช้สัญญลักษณ์ที่เรียกว่า ฮาลาล”
ซึ่งเขียนเป็นภาษาอาหรับว่า   ภายในกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หลังกรอบเป็นลายเส้นแนวตั้ง ใต้กรอบภายในเส้นขนานมีคำว่า สนง.คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย” โดย เครื่องหมายดังกล่าวนี้ จะออกให้กับผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ฮาลาล และหรือเนื้อสัตว์ฮาลาลที่นำเข้าจากต่างประเทศ เป็นต้น

                ผู้ประกอบการ หรือผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาล มีหน้าที่ ดังต่อไปนี้

  1. รักษาอุปกรณ์ในการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาลให้สะอาดถูกต้องตามศาสนบัญญัติ ตลอดจนไม่ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวร่วมกับของต้องห้ามตามศาสนบัญญัติ
  2. วัตถุดิบหลักในการผลิต ตลอดจนเครื่องปรุงอื่น ๆ ต้องระบุแหล่งที่มาอันน่าเชื่อถือได้ว่า “ฮาลาล”โดยไม่แปดเปื้อนกับสิ่งต้องห้าม
  3. วัตถุดิบที่ได้จากสัตว์ต่าง ๆ นั้น ต้องเป็นสัตว์ที่ศาสนาอิสลามอนุมัติ และหรือได้เชือดตามศาสนบัญญัติ
  4. เจ้าหน้าที่ที่ควบคุมการผลิต หรือปรุงผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ต้องเป็นมุสลิม
  5. ในระหว่างการขนย้าย ขนส่ง หรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ฮาลาลนั้น ต้องไม่ปะปนผลิตภัณฑ์ฮาลาลนั้น ต้องไม่ปะปนผลิตภัณฑ์ฮาลาลกับสิ่งต้องห้ามตามศาสนบัญญัติ

                หน้าที่ของผู้เชือดสัตว์ตามศาสนบัญญัติเพื่อให้ได้เนื้อสัตว์ที่ฮาลาล มีดังนี้

  1. ต้องนับถือศาสนาอิสลาม
  2. สัตว์ที่จะเชือดนั้น ต้องเป็นสัตว์ที่รับประทานได้ตามหลักศาสนาอิสลาม
  3. ต้องไม่ปะปนสัตว์ที่จะเชือดกับสัตว์ต้องห้ามในระหว่างขนส่ง
  4. ต้องไม่ทารุณสัตว์ก่อนการเชือด ตลอดจนอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชือดต้องมีความคม
  5. ให้ผู้เชือดกล่าวพระนามของพระผู้เป็นเจ้า ขณะเริ่มทำการเชือด โดยต้องเชือดในคราวเดียวกันให้แล้วเสร็จ โดยไม่ทรมานสัตว์
  6. ต้องเชือดให้หลอดลม หลอดอาหารและเส้นเลือดข้างลำคอของสัตว์ที่ถูกเชือด ขาดออกจากกันอย่างสิ้นเชิง โดยสัตว์จะต้องตายเพราะการเชือดเท่านั้น สัตว์นั้นต้องตายสนิทเองก่อน จึงจะนำไปดำเนินการอย่างอื่นต่อได้

                สิ่งต้องห้ามตามศาสนบัญญัติ (ห้ามใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาลโดยเด็ดขาด) ได้แก่

  1. สัตว์ต้องห้าม ได้แก่

                                1.1 สุกร สุนัข หมูป่า ลิง

                                1.2 สัตว์กินเนื้อเป็นอาหารที่มีกรงเล็บ เช่น สิงโต เสือ หมี และอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน

                                1.3 สัตว์ที่มีพิษ หรือสัตว์นำเชื้อโรค เช่น หนู ตะขาบ แมงป่อง ฯลฯ

                                1.4 สัตว์ที่ไม่อนุญาตให้ฆ่าตามศาสนบัญญัติ เช่น มด ผึ้ง และนกหัวขวาน

                                1.5 สัตว์ที่ลักษณะน่ารังเกียจ เช่น เหา แมลงวัน หนอน ฯลฯ

                                1.6 สัตว์ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับลา

                                1.7 สัตว์ที่มีพิษและเป็นอันตรายทุกชนิด

                                1.8 สัตว์เพื่อการบริโภคโดยทั่วไป ที่ไม่ได้เชือดตามหลักการของศาสนาอิสลาม

  1. เลือดสัตว์ต่าง ๆ
  2. อาหารที่มาจากพืชที่มีพิษและเป็นอันตรายทุกชนิด
  3. อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือมีส่วนประกอบที่เป็นอันตรายและเป็นพิษ

                เป็น ที่น่ายินดีของกำลังพล เหล่าทหารพลาธิการ ตลอดจนกำลังพล สังกัด ทบ. โดยทั่วไปที่นับถือศาสนาอิสลาม ที่โรงงานผลิตเสบียง กองเกียกกาย กรมพลาธิการทหารบก ของเราได้รับการรับรอง เครื่องหมายฮาลาล” จาก คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2546 ให้สามารถผลิตเสบียงกระป๋อง ภายใต้เครื่องหมายฮาลาล ถึง 40 รายการ (61 ผลิตภัณฑ์) ด้วยกัน นับเป็นก้าวสำคัญของการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกองทัพ ด้วยสายงานพลาธิการให้ขจรขจายไปทั่วโลก เนื่องจากเสบียงฮาลาล ที่ผลิตจากโรงงานผลิตเสบียง กองเกียกกาย กรมพลาธิการทหารบกนั้น มิได้จำกัดกรอบของผู้บริโภคไว้แต่เฉพาะชาวมุสลิมเท่านั้น หากแต่เสบียงฮาลาลนั้น มีความน่าเชื่อถือในคุณภาพในตัวของมันเอง เป็นที่ยอมรับของทุกชาติทุกภาษา เป็นมาตรฐานสากลอยู่แล้ว

                ที่ ผ่านมาเสบียงฮาลาลของกรมพลาธิการทหารบก ได้ปรากฏโฉมต่อสายตาของสาธารณชนและสื่อมวลชน ทั้งภายในและภายนอกประเทศอยู่หลายครั้งหลายครา ไม่ว่าจะเป็นเนื้อวัวทากระเทียมพริกไทย เนื้อนกกระจอกเทศทากระเทียมพริกไทย เนื้อไก่งวงทากระเทียมพริกไทย และไก่ทากระเทียมพริกไทย เป็นต้น

                กอง ทัพบกได้มอบหมายให้กรมพลาธิการทหารบก ผลิตเสบียงฮาลาลจำนวนหนึ่ง ส่งไปสนับสนุนกองกำลัง 976 ของไทย ซึ่งได้มอบหมายภารกิจในการปฏิบัติการรักษาสันติภาพที่ประเทศอิรัก โดยทหารไทยในกองกำลัง 976 ก็ได้ใช้เสบียงเหล่านี้ แจกจ่ายให้กับประชาชนชาวอิรัก เพื่อบรรเทาความหิวโหยและปวดร้าวจากภัยสงคราม เพื่อมนุษยธรรม สร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างทหารไทย และประชาชนชาวอิรัก เปรียบประดุจ ของขวัญแห่งมิตรภาพ เป็นความปรารถนาดีที่บริโภคได้”

                กรม พลาธิการทหารบก คงไม่หยุดยั้งอยู่เพียงเท่านี้ ก้าวต่อไปของเรา จะเป็นการเร่งปรับปรุงโรงงานผลิตเสบียง กองเกียกกาย ให้สมบูรณ์แบบ เพื่อรองรับเครื่องหมายรับรอง อย. จากกระทรวงสาธารณสุข ตลอดจนพัฒนาเสบียงกระป๋องสำเร็จรูปให้มีความหลายหลาก ผลักดันให้โรงงานผลิตเสบียง กองเกียกกาย กรมพลาธิการทหารบก เป็นครัวของกองทัพอย่างสมบูรณ์แบบ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลอย่างเหมาะเจาะที่มุ่งหวังจะผลักดันให้ประเทศไทย เป็นครัวของโลก เพื่อส่งเสริมบทบาทของประเทศไทยในเวทีโลกให้โดดเด่นเป็นมหาอำนาจทางการอาหาร ต่อไป

                มาถึงตรงนี้ ท่านได้ลองลิ้มชิมรส ความปรารถนาดีที่บริโภคได้” จากโรงงานผลิตเสบียง กองเกียกกาย กรมพลาธิการทหารบก ในรูปแบบของ เสบียงฮาลาล”แล้วรึยัง

ที่มา : http://qmrta.net/halal.htm

Page 2 of 712345...Last »