นักวิจัยเดนมาร์กพยายามศึกษาหาคำตอบว่า การวิ่งที่เหมาะสมที่สุดนั้นควรช้าหรือเร็วแค่ไหน?
นานเท่าไร?
การ ออกกำลังกายด้วยการวิ่ง เป็นทางเลือกยอดนิยมที่สุดสำหรับคนที่ต้องการเผาผลาญแคลอรี่และมีร่างกาย แข็งแรง มีอายุยืนยาว แต่หลายคนอาจจะยังสงสัยว่าการวิ่งที่เหมาะสมที่สุดนั้น ควรช้าหรือเร็วแค่ไหน นานเท่าไร ซึ่งนักวิจัยเดนมาร์กพยายามศึกษาหาคำตอบเรื่องนี้
รายงาน ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of the American College of Cardiology รวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างชายหญิงวัยผู้ใหญ่ 1,098 คน ซึ่งวิ่งเป็นประจำสม่ำเสมอ ภายใต้โครงการศึกษา Copenhagen City Heart Study โดยได้ศึกษาข้อมูลความถี่ในการวิ่ง ระยะทาง เวลาที่ใช้ และอัตราเร่ง ตั้งแต่ปี ค.ศ 2001 จากนั้นนำข้อมูลไปเปรียบเทียบกับคนที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย 3,950 คน
จาก การวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าคนที่วิ่งเป็นประจำแม้จะวิ่งเหยาะๆ จะมีอายุยืนยาวกว่าคนที่ไม่ได้วิ่งเลย แต่ที่น่าแปลกใจคือคนที่วิ่งเหยาะๆ กลับมีอายุยืนกว่าคนที่วิ่งเร็วด้วย โดยรายงานพบว่าคนที่วิ่งเร็วกับไม่ได้วิ่งเลยนั้น มีอายุเฉลี่ยพอๆ กัน
รายงาน ชิ้นนี้ระบุว่า ระยะเวลาการวิ่งที่ทำให้อายุยืนยาวที่สุด คือการวิ่งเหยาะๆ ประมาณ 1 ชม. – 2 ชม.ครึ่ง ต่อสัปดาห์ แต่รายงานมิได้ระบุเจาะจงว่าการวิ่งช้าหรือเหยาะๆ นั้นคือกี่นาทีต่อกิโลเมตร เพียงแต่แบ่งเป็น 3 ระดับ คือวิ่งช้า วิ่งปกติ และวิ่งเร็ว แล้วให้กลุ่มตัวอย่างระบุเองว่าลักษณะการวิ่งของพวกเขาเป็นแบบไหน
นัก วิจัย Jacob Louis Marott ผู้นำการวิจัยครั้งนี้บอกว่า การวิ่งด้วยอัตราที่เร็วเกินไปนั้นอาจไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควรในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับความยืนยาวของชีวิต ซึ่งอาจเป็นเพราะการออกกำลังกายอย่างหนักบ่อยๆอาจสร้างผลเสียต่อกล้ามเนื้อ หัวใจได้
อย่าง ไรก็ตามยังมีประเด็นโต้แย้งอยู่บ้าง หนึ่งคือจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ชอบวิ่งเร็วๆบ่อยๆในการทดลองครั้งนี้ยังน้อย เกินไป สองคือนักวิจัยเดนมาร์กมิได้ระบุถึงสาเหตุการเสียชีวิตของกลุ่มตัวอย่างนัก วิ่งเหล่านั้นไว้ชัดเจน
รายงานจาก New York Times / เรียบเรียงโดยทรงพจน์ สุภาผล