โดย admin | Jun 9, 2016 | บทความ
ปัญหาขาดอาหารและโรคอ้วนในเด็กทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะรุนแรงขึ้น ปัญหาขาดอาหารและโรคอ้วนในเด็ก ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะรุนแรงขึ้น ยูนิเซฟและองค์การอนามัยโลกชี้ว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังประสบกับวิกฤติด้านโภชนาการในเด็กทั้งที่ขาดอาหารและโรคอ้วน องค์การกองทุนเพื่อเด็กเเห่งสหประชาชาติหรือ UNICEF และองค์การอนามัยโลกชี้ว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังประสบกับวิกฤติด้านโภชนาการ ทั้งทุพโภชนาการและโรคอ้วนในเด็ก ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจของภูมิภาคนี้เจริญเติบโตมาตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา รายงานของยูนิเซฟกับองค์การอนามัยโลกชิ้นนี้ชี้ว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะประสบกับภาระค่าใช้จ่ายทางสาธารณสุขเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากปัญหาทุพโภชนาการและโรคอ้วนในเด็ก ที่ทวีความรุนแรงขึ้นในประเทศรายได้ปานกลาง อาทิ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และประเทศไทย รายงานชิ้นนี้เปิดเผยว่า ในอินโดนีเซียเพียงประเทศเดียว ปัญหาทุพโภชนาการในเด็กเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการของเด็ก นำไปสู่การเกิดโรคที่ไม่ติดต่อหลายโรคซึ่งสร้างค่าใช้จ่ายทางสาธารณสุขถึงปีละ 2 เเสน 4 หมื่น8 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ คุณ Dorothy Foote ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการระดับภูมิภาคแห่งยูนิเซฟ กล่าวว่าปัญหานี้จะทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งปัญหาโภชนาการของเด็กและคนทั่วไป เธอกล่าวว่า แม้ว่าองค์การยูนิเซฟกังวลเป็นพิเศษเกี่ยวกับเด็ก เเต่ปัญหานี้ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในด็กเท่านั้น แต่เป็นปัญหาใหญ่ในกลุ่มประชากรทั่วไปโดยรวมอีกด้วย ปัญหานี้จะกระทบทั้งครอบครัว ชุมชน ตลอดจนรัฐบาล และสังคม เนื่องจากผลกระทบจากภาระทางสาธารณสุขที่เพิ่มขึ้นเท่าตัว ในอินโดนีเซีย เด็ก 12 เปอร์เซ็นต์เป็นโรคอ้วน และเด็กอีก 12 เปอร์เซ็นต์ขาดอาหาร ในประเทศไทย รายงานชิ้นนี้ชี้ว่าปัญหานี้เพิ่มความรุนแรงขึ้น โดยเด็ก 7 เปอร์เซ็นต์ขาดอาหาร ขณะที่ เด็ก 11 เปอร์เซ็นต์เป็นโรคอ้วน คุณ Foote กล่าวว่าภาวะทุพโภชนาการมีผลกระทบที่เรื้อรังและรุนแรง อาทิ ทำให้เกิดภาวะเเคระแกร็นในเด็ก ประเทศลาวมีอัตราเด็กตัวเเคระเเกร็นสูงถึง 44 เปอร์เซ็นต์ และอัตราเด็กแคระเเกร็นที่สูงนี้ยังพบในกัมพูชา พม่า ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียด้วย คุณ Foote ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการระดับภูมิภาคแห่งยูนิเซฟ กล่าวว่า หากเด็กไม่ได้รับอาหารเพียงพอ จะมีผลกระทบทั้งความสูงและพัฒนาการต่างๆ ในร่างกาย และนอกจากปัญหาทุพโภชนาการแล้ว ภูมิภาคนี้ยังประสบกับปัญหาเด็กอ้วนเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ในรายงานชิ้นนี้ สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาด้านอาหารในเด็ก เกิดจากการกินอาหารขยะกันมากขึ้น ทั้งที่เป็นอาหารแปรรูปและเครื่องดื่มที่มีไขมันไม่อิ่มตัวหรือมีปริมาณน้ำตาลสูง แต่มีคุณค่าทางอาหารต่ำ รายงานนี้ชี้ว่าการไม่ออกกำลังกายและวิถีชีวิตสมัยใหม่ก็มีบทบาทต่อเรื่องนี้ คุณ Foote กล่าวว่า คนในภูมิภาคยังด้อยความรู้เกี่ยวกับโภชนาการที่ดีต่อการเจริญเติบโตของเด็ก ไม่เฉพาะในระดับประชาชนเท่านั้น แต่ในระดับรัฐบาลและผู้ร่างนโยบายอีกด้วย การเติบโตทางเศรษฐกิจได้นำไปสู่การขยายตัวของตลาดอาหารที่ไม่มีคุณค่าต่อร่างกายไปยังเขตชนบท รวมทั้งครอบครัวคนยากจนและคนชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อหาผลิตภัณฑ์อาหารขยะไปรับประทาน แทนที่จะเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทางยูนิเซฟและองค์การอนามัยโลกชี้ว่า รัฐบาลในประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้องควบคุมการขายอาหารขยะเเละเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงแก่เด็กให้เข้มงวดมากขึ้นและควบคุมไม่ให้ขายอาหารไม่มีคุณค่าเหล่านี้ในโรงเรียน ปัญหาเด็กขาดอาหารยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการที่มารดาเลิกเลี้ยงบุตรด้วยน้ำนมตนเองอีกด้วย โดยหันไปใช้นมผงแทน รายงานชิ้นนี้ยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลในประเทศต่างๆ ปรับปรุงแนวการเลี้ยงทารกและเด็กเล็ก จัดหาการบำบัดเเก่เด็กที่เกิดภาวะทุพโภชนาการรุนแรง เพิ่มความหลากหลายของผลผลิตทางการเกษตร ส่งเสริมความสะอาดของอาหาร และต้องส่งเสริมให้เด็กผู้หญิงไปโรงเรียนให้นานปีมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกจากนี้รายงานของยูนิเซฟกับองค์การอนามัยโลก ยังต้องการให้รัฐบาลต่างๆ เดินหน้าต่อไปเพื่อลดความยากจนลง (เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน) ที่มา : http://www.voathai.com/a/asia-child-nutrition-tk/3331820.html?ltflags=mailer #อาหารเสริม #เอฟแอนด์เอฟ #ฟิตแอนด์เฟิร์ม #โรคอ้วน #ควบคุมน้ำหนัก #ควบคุมระดับน้ำตาล #ลดไขมัน #เร่งการเผาผลาญ #ผลิตจากธรรมชาติ #ผลงานวิจัย #Supplement #F&F #Fit&Firm #control #obesity #weightloss #fat #accelerates #metabolism #natural production #research...
โดย admin | Jun 8, 2016 | บทความ
องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ แนะให้ลดเกลือในอาหาร… ลดความดัน ลดเครียด องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ แนะให้ลดเกลือในอาหาร… ลดความดัน ลดเครียด องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ให้คำแนะนำว่า ปริมาณโซเดียมในอาหารที่เรารับประทานต่อวันไม่ควรเกินกว่า 2,300 มิลลิกรัม องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ มีคำแนะแนวใหม่ออกมาสำหรับผู้ผลิตอาหารและร้านอาหารทั่วไปว่า ขอให้พยายามลดเกลือหรือโซเดียมในอาหารลงให้ได้หนึ่งในสาม ในช่วงสิบปีข้างหน้า ข้อเสนอนี้เป็นเพียงการแนะนำเท่านั้น ไม่ใช่คำสั่ง เป้าหมายที่องค์การอาหารและยาสหรัฐหวัง คือการลดเกลือในอาหารลง จะช่วยให้คนอเมริกันเป็นความดันโลหิตสูง หรือความเครียดน้อยลง องค์การอาหารและยาของสหรัฐให้คำแนะนำว่า ปริมาณโซเดียมในอาหารที่เรารับประทานต่อวันนั้น ไม่ควรเกินกว่า 2,300 มิลลิกรัม ในขณะนี้ คนอเมริกันรับประทานอาหารที่มีโซเดียมผสมใส่ไว้ โดยเฉลี่ยแล้ววันละ 3,400 มิลลิกรัม นายแพทย์ Thomas Frieden ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสาธารณสุขศาสตร์ของ CDC หรือศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ ได้เขียนบทบรรณาธิการออนไลน์สนับสนุนข้อเสนอแนะนี้ไว้ในวารสารของสมาคมการแพทย์อเมริกัน หรือ The Journal of the American Medical Association (JAMA) รัฐมนตรี Sylvia Burwell ของกระทรวงสาธารณสุขและการพัฒนามนุษย์ ให้ความเห็นในเรื่องนี้ไว้ด้วยว่า คนอเมริกันเป็นจำนวนมาก อยากจะลดโซเดียมในอาหารที่รับประทาน แต่เป็นเรื่องทำได้ยาก เมื่อผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่หาซื้อได้ตามร้านค้าและร้านอาหาร มีโซเดียมผสมไว้อยู่แล้ว ข้อเสนอแนะใหม่นี้จะช่วยให้ผู้บริโภคควบคุมปริมาณเกลือหรือโซเดียมในอาหาร และปรับปรุงสุขภาพของตนเองได้ดีขึ้น แต่มีนักวิทยาศาสตร์บางคน อย่างเช่น ผู้บริหาร Cleveland Clinic ซึ่งมีชื่อเสียงในเรื่องโรคหัวใจ ที่ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะใหม่นี้ โดยให้ความเห็นว่า หลักวิทยาศาสตร์ในเรื่องนี้ ไม่ชัดเจนพอที่จะบอกว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างโซเดียมกับโรคหัวใจ เจ้าหน้าที่อาวุโสขององค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ กล่าวย้ำว่า ข้อเสนอแนะนี้เป็นเรื่องของความสมัครใจ ไม่ใช่คำสั่ง เพราะโซเดียมมีความสำคัญในการผลิตอาหาร โดยเฉพาะในเรื่องรสชาติ เนื้อหา และความปลอดภัยทางจุลินทรีย์ ดังนั้นจึงจะต้องมีการพิจารณาเรื่องนี้กันอย่างรอบคอบ ที่มา : http://www.voathai.com/a/sodium-cutbacks-nm/3359981.html?ltflags=mailer #โซเดียม #เครื่องปรุง #ธรรมชาติ #ปลอดสาร #สุขภาพ #คูเน่ #sodium #seasoning #natural #health #kuune...
โดย admin | Nov 29, 2015 | บทความ
การกินน้ำตาลในปริมาณมากมีผลเสียต่อสุขภาพเด็ก ผลการศึกษาชิ้นล่าสุดชี้ว่าเด็กที่รับประทานน้ำตาลน้อยลงจะมีอาการของโรคในกลุ่มเมตาโบลิคซินโดรมน้อยลง การกินน้ำตาลในปริมาณมากมีผลเสียต่อสุขภาพเด็ก ผลการศึกษาชิ้นล่าสุดชี้ว่าเด็กที่รับประทานน้ำตาลน้อยลงจะมีอาการของโรคในกลุ่มเมตาโบลิคซินโดรมน้อยลง ผลการศึกษานี้ตีพิมพ์ในวารสาร Obesity เมื่อไม่นานมานี้ เป็นผลงานของทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย University of California San Francisco กับมหาวิทยาลัย Touro University California เปิดเผยว่า การกินน้ำตาลน้อยลงช่วยลดระดับไขมันในกระเเสเลือด ลดอาการความดันโลหิตสูง ตลอดจนโรคในกลุ่มเมตาโบลิคซินโดรม โดยไม่ต้องลดปริมาณแคลอรี่ที่ร่างกายได้รับหรือโดยไม่ต้องลดน้ำหนักตัว คุณ Robert Lusting ผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อในเด็กที่ Benioff Children’s Hospital San Francisco แห่งมหาวิทยาลัย University of California San Francisco หรือ UCSF ซึ่งเป็นสมาชิกทีมวิจัยกล่าวว่า การศึกษาชิ้นนี้ช่วยยืนยันได้ว่าน้ำตาลมีผลเสียต่อระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกายและส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ในกลุ่มเมตาโบลิคซินโดรม ผลการศึกษานี้ถือเป็นข้อมูลที่หนักแน่นมากที่สุดเท่าที่มีมา ซึ่งชี้ให้เห็นผลเสียของน้ำตาลต่อร่างกายโดยไม่เกี่ยวข้องกับปริมาณพลังงานที่ร่างกายได้รับหรือความอ้วน ด้านคุณ Jean-Marc Schwarz ผู้เชี่ยวชาญแห่งวิทยาลัยการแพทย์ Osteopathic Medicine มหาวิทยาลัย Touro University California ซึ่งเป็นสมาชิกในทีมวิจัยกล่าวว่าผลการศึกษานี้มีความสำคัญมากและช่วยเน้นย้ำความจำเป็นที่ผู้ปกครองควรใส่ใจกับปริมาณน้ำตาลที่ลูกรับประทาน ทีมนักวิจัยทำการศึกษาเรื่องนี้ด้วยการเฝ้าติดตามเด็ก 43 คน อายุระหว่าง 9-18 ปี ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังในกลุ่มเมตาโบลิคซินโดรมโรคใดโรคหนึ่ง ในการศึกษา เด็กๆ ได้รับอาหารที่ควบคุมระดับน้ำตาลนานเก้าวัน และอาหารดังกล่าวมีปริมาณแป้งเพิ่มมากขึ้นเพื่อคงระดับไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และปริมาณพลังงานหรือแคลอรี่ที่ได้รับ ให้เท่ากับระดับที่เด็กๆ ได้รับก่อนหน้าการวิจัย ทีมนักวิจัยชี้ว่าจากปริมาณพลังงานทั้งหมดที่เด็กๆ ได้รับ เป็นน้ำตาลราว 10-28 เปอร์เซ็นต์และปริมาณ Fructose ราว 4-12 เปอร์เซ็นต์ ทีมนักวิจัยชี้ว่าหลังจากลดปริมาณน้ำตาลที่ผสมในอาหารลง เด็กๆ บอกว่ารู้สึกอิ่มมากกว่าเดิม ทั้งๆ ที่อาหารควบคุมน้ำตาลให้ปริมาณแคลอรี่แก่ร่างกายเท่าเดิมเพียงแต่ลดปริมาณน้ำตาลลงเท่านั้น เด็กบางคนในการทดลองบอกว่ารู้สึกว่าได้รับปริมาณอาหารมากกว่าเดิม คุณ Robert Lusting นักวิจัยชี้ว่าผลการศึกษานี้ได้ผลที่น่าพอใจมาก เด็กๆ ในการทดลองมีระดับความดันโลหิตลดลง ระดับไขมันในเส้นเลือดต่ำลงและการทำงานของตับดีขึ้น เขากล่าวว่าปัญหาสุขภาพต่างๆ ที่เกิดจากความบกพร่องของระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกายเริ่มดีขึ้น เพียงแค่ทดแทนน้ำตาลในอาหารแปรรูปด้วยคาร์โบไฮเดรต โดยไม่ต้องลดน้ำหนักตัวหรือออกกำลังกายแต่อย่างใด ทีมนักวิจัยชี้ว่าการศึกษานี้เเสดงให้เห็นว่า แคลอรี่ไม่ใช่ตัวสร้างปัญหาสุขภาพ แต่แหล่งที่มาของแคลอรี่ต่างหากที่เป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพ และการศึกษานี้ชี้ว่าแคลอรี่ที่มาจากน้ำตาลสร้างผลเสียต่อสุขภาพมากที่สุด เพราะจะถูกแปลงเป็นไขมันในตับ นำไปสู่อาการต้านอินซูลินและกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจและโรคตับตามมา ที่มา : http://www.voathai.com/content/kids-sugar-tk/3074539.html ผลการศึกษานี้ตีพิมพ์ในวารสาร Obesity เมื่อไม่นานมานี้ เป็นผลงานของทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย University of California San Francisco กับมหาวิทยาลัย Touro University California เปิดเผยว่า การกินน้ำตาลน้อยลงช่วยลดระดับไขมันในกระเเสเลือด ลดอาการความดันโลหิตสูง ตลอดจนโรคในกลุ่มเมตาโบลิคซินโดรม โดยไม่ต้องลดปริมาณแคลอรี่ที่ร่างกายได้รับหรือโดยไม่ต้องลดน้ำหนักตัว คุณ Robert Lusting ผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อในเด็กที่ Benioff Children’s Hospital San Francisco แห่งมหาวิทยาลัย University of California San Francisco หรือ UCSF ซึ่งเป็นสมาชิกทีมวิจัยกล่าวว่า การศึกษาชิ้นนี้ช่วยยืนยันได้ว่าน้ำตาลมีผลเสียต่อระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกายและส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ในกลุ่มเมตาโบลิคซินโดรม ผลการศึกษานี้ถือเป็นข้อมูลที่หนักแน่นมากที่สุดเท่าที่มีมา ซึ่งชี้ให้เห็นผลเสียของน้ำตาลต่อร่างกายโดยไม่เกี่ยวข้องกับปริมาณพลังงานที่ร่างกายได้รับหรือความอ้วน ด้านคุณ Jean-Marc Schwarz ผู้เชี่ยวชาญแห่งวิทยาลัยการแพทย์ Osteopathic Medicine มหาวิทยาลัย Touro University California ซึ่งเป็นสมาชิกในทีมวิจัยกล่าวว่าผลการศึกษานี้มีความสำคัญมากและช่วยเน้นย้ำความจำเป็นที่ผู้ปกครองควรใส่ใจกับปริมาณน้ำตาลที่ลูกรับประทาน ทีมนักวิจัยทำการศึกษาเรื่องนี้ด้วยการเฝ้าติดตามเด็ก 43 คน อายุระหว่าง 9-18 ปี ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังในกลุ่มเมตาโบลิคซินโดรมโรคใดโรคหนึ่ง ในการศึกษา เด็กๆ ได้รับอาหารที่ควบคุมระดับน้ำตาลนานเก้าวัน และอาหารดังกล่าวมีปริมาณแป้งเพิ่มมากขึ้นเพื่อคงระดับไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และปริมาณพลังงานหรือแคลอรี่ที่ได้รับ ให้เท่ากับระดับที่เด็กๆ ได้รับก่อนหน้าการวิจัย ทีมนักวิจัยชี้ว่าจากปริมาณพลังงานทั้งหมดที่เด็กๆ ได้รับ เป็นน้ำตาลราว 10-28 เปอร์เซ็นต์และปริมาณ Fructose ราว 4-12 เปอร์เซ็นต์ ทีมนักวิจัยชี้ว่าหลังจากลดปริมาณน้ำตาลที่ผสมในอาหารลง เด็กๆ บอกว่ารู้สึกอิ่มมากกว่าเดิม ทั้งๆ ที่อาหารควบคุมน้ำตาลให้ปริมาณแคลอรี่แก่ร่างกายเท่าเดิมเพียงแต่ลดปริมาณน้ำตาลลงเท่านั้น เด็กบางคนในการทดลองบอกว่ารู้สึกว่าได้รับปริมาณอาหารมากกว่าเดิม คุณ Robert Lusting นักวิจัยชี้ว่าผลการศึกษานี้ได้ผลที่น่าพอใจมาก เด็กๆ ในการทดลองมีระดับความดันโลหิตลดลง ระดับไขมันในเส้นเลือดต่ำลงและการทำงานของตับดีขึ้น เขากล่าวว่าปัญหาสุขภาพต่างๆ ที่เกิดจากความบกพร่องของระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกายเริ่มดีขึ้น เพียงแค่ทดแทนน้ำตาลในอาหารแปรรูปด้วยคาร์โบไฮเดรต โดยไม่ต้องลดน้ำหนักตัวหรือออกกำลังกายแต่อย่างใด ทีมนักวิจัยชี้ว่าการศึกษานี้เเสดงให้เห็นว่า แคลอรี่ไม่ใช่ตัวสร้างปัญหาสุขภาพ แต่แหล่งที่มาของแคลอรี่ต่างหากที่เป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพ และการศึกษานี้ชี้ว่าแคลอรี่ที่มาจากน้ำตาลสร้างผลเสียต่อสุขภาพมากที่สุด เพราะจะถูกแปลงเป็นไขมันในตับ นำไปสู่อาการต้านอินซูลินและกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจและโรคตับตามมา ที่มา :...
โดย admin | Nov 29, 2015 | บทความ
ผลการศึกษาชิ้นใหม่ชี้ว่าคนอเมริกันใช้ยาตามใบสั่งแพทย์มากขึ้นกว่าในอดีตเพื่อบำบัดโรคต่างๆ ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากโรคอ้วน ผลการศึกษาชิ้นล่าสุดชี้ว่าชาวอเมริกันในปัจจุบันใช้ยาตามใบสั่งแพทย์กันมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา เพื่อบำบัดโรคหลายโรครวมทั้งเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นโรคที่เราสามารถป้องกันได้ Dr. Elizabeth Kantor ผู้เชี่ยวชาญแห่ง Sloan-Kettering Memorial Cancer Center กล่าวว่าการใช้ยาตามใบสั่งแพทย์เพื่อบำบัดโรคเหล่านี้สูงมาก ในกลุ่มคนอเมริกันที่อายุสูงขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มคนที่อายุ 65 ปีขึ้นไป แต่การวิจัยชิ้นนี้ศึกษาการใช้ยารักษาโรคที่มากับโรคอ้วนตามใบสั่งแพทย์ในกลุ่มคนอเมริกันอายุน้อยโดยเริ่มตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปอีกด้วย และผลที่ได้ออกมาคล้ายคลึงกัน Dr. Elizabeth Kantor ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การศึกษาพบว่ามีการใช้ยาควบคุมความดันเลือด เบาหวาน ไขมันในเส้นเลือด โรคซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้นทั้งหมด และยาที่ใช้กันทั่วไปที่สุดคือยาประเภท statin ที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการอาการเส้นเลือดในสมองแตก หัวใจวายและโรคที่เกิดกับหลอดเลือดและหัวใจ การศึกษานี้พบว่าผู้ใหญ่ชาวอเมริกันเกือบ 8 เปอร์เซ็นต์กำลังใช้ยาชนิดนี้อยู่ในปัจจุบัน Dr. Elizabeth Kantor กล่าวว่าเมื่อศึกษายาที่ใช้กันทั่วไปอย่างน้อย 10 ชนิดในปี ค.ศ. 2011-2012 พบว่าคนอเมริกันใช้ยาเหล่านี้เพื่อบำบัดอาการป่วยที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดและหัวใจเช่นเดียวกับโรคอื่นๆ ที่นำไปสู่การเกิดโรคหัวใจ ทีมวิจัยยังพบด้วยว่า จำนวนคนอเมริกันที่ต้องใช้ยาหลายตัวเพื่อบำบัดอาการต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวภายในระยะเวลา 10 ปี ในการศึกษานี้ นักวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยจำนวนมากเป็นเวลานานสองปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 – 2000 และจากปี ค.ศ. 2011 – 2012 การศึกษานี้จัดทำโดยทีมนักวิจัยที่วิทยาลัยการแพทย์มหาวิทยาลัย Harvard และตีพิมพ์ในวารสาร Journal of the American Medical Association ไปเมื่อเร็วๆ นี้ ที่มา :...
โดย admin | Sep 6, 2015 | บทความ
ประชาสัมพันธ์ บริษัท ปกธนพัฒน์ จำกัด ( ตรา คูเน่ ) Information Pokthanapath Co., Ltd. (KuuNe Brand)...