มือถือ: 063 516 6296 โทร: 0 2956 6118 โทรสาร: 0 2956 6117 komcharne@gmail.com
อาหารในแต่ละช่วงวัยของชีวิต

อาหารในแต่ละช่วงวัยของชีวิต

อาหารในแต่ละช่วงวัยของชีวิต  Diet throughout life   การ รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนทุกวัย อย่างไรก็ดีความต้องการอาหารในแต่ละช่วงอายุมีความแตกต่างกัน เช่น วัยเด็กต้องการพลังงานสูงเพื่อการเจริญเติบโต เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายต้องมีการควบคุมน้ำหนักเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรง บทความนี้ได้ให้แนวทางในการเลือกอาหารที่เหมาะสมในแต่ละช่วงชีวิตตั้งแต่วัย ทารก วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ จนถึงวัยสูงอายุ     วัยทารก ทารกแรกเกิดถึง 6 เดือน ยังไม่ต้องการอาหารใดๆ นอกจากนมแม่หรือนมผงดัดแปลงสำหรับทารก ทารกบางคนอาจแพ้นมวัวที่อยู่ในนมผง ดังนั้นหากสงสัยว่าทารกแพ้นมวัวให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกเพราะนมแม่ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ ที่ทารกต้องการอย่างครบถ้วน แต่เมื่อทารกอายุครบ 6 เดือน สารอาหารในนมแม่อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ดังนั้นจึงควรเริ่มให้อาหารอื่นๆ นอกจากการให้นมแม่ ซึ่งเรียกว่าเข้าช่วงการหย่านม (Weaning) นั่น เอง การเริ่มหย่านมนั้นขึ้นกับพัฒนาการของเด็ก ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละคน โดยอาจเริ่มให้อาหารที่มีลักษณะของความเป็นเนื้ออาหารเพื่อกระตุ้นให้ทารก รู้จักการบดเคี้ยว แต่ห้ามเติมเกลือลงในอาหารเนื่องจากไตของทารกยังไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็ม ที่ และเช่นเดียวกันห้ามทารกดื่มน้ำผึ้งจนกว่าจะอายุครบหนึ่งขวบ เนื่องจากในน้ำผึ้งอาจมีแบคทีเรียที่อาจเป็นอันตรายต่อทารกได้    อย่างไรก็ตามทารกยังคงต้องการนมแม่หรือนมผง ไปพร้อมกับการให้อาหารอื่นๆ จนกว่าอายุครบ 1 ขวบ ปริมาณที่ให้ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารที่ทารกสามารถรับประทานได้ อย่าพยามยามให้ทารกรับประทานอาหารมากเกินความต้องการ วัยเด็ก เด็กมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงต้องการอาหารที่ให้สารอาหารและพลังงานสูง เด็กวัยหัดเดิน (Toddlers) ยัง ไม่สามารถรับประทานอาหารได้มากนัก ดังนั้นจึงควรป้อนอาหารมื้อเล็กๆ และของว่างที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผลไม้ชิ้นเล็กๆ แครอทหรือแตงกวาหั่น ซึ่งสามารถป้อนได้เรื่อยๆ ทั้งวัน เมื่อเด็กอายุครบ 5 ขวบ ก็สามารถให้เด็กรับประทานอาหารทั่วไปเหมือนสมาชิกอื่นๆ ในครอบครัวได้ แต่ห้ามเติมเกลือในอาหารเด็ก สิ่งสำคัญคือเด็กต้องได้รับโปรตีนและแคลเซียมที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต ของกระดูกและกล้ามเนื้อ นมและผลิตภัณฑ์จากนมเป็นแหล่งอาหารที่ดีที่ให้ทั้งโปรตีนและแคลเซียมที่จำ เป็นสำหรับเด็ก เด็กอายุ 1-3 ขวบต้องการนมอย่างน้อย 8 ออนซ์ต่อวัน (หรือเท่ากับ 240 มิลลิลิตรต่อวัน) นมที่ดีที่สุดสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ คือ นมครบส่วน (Whole milk) หรือผลิตภัณฑ์จากนมไขมันเต็ม (Full fat dairy product) ซึ่งสามารถให้พลังงานเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เด็ก ต้องการอาหารที่หลากหลายและพ่อแม่ต้องพยายามทำให้เวลาบนโต๊ะอาหารเป็นเวลา ที่มีความสุขของครอบครัว หลีกเลี่ยงการให้เด็กรับประทานอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารประเภทจานด่วน (Fast food) เพื่อ พัฒนาให้เด็กมีพฤติกรรมการกินเพื่อสุขภาพตั้งแต่ยังเล็กและมีความคุ้นเคยกับ อาหารเพื่อสุขภาพว่าเป็นอาหารที่ควรกินตามปกติเป็นประจำ พ่อแม่ต้องพยายามคิดหาวิธีกระตุ้นให้เด็กรับประทานอาหารที่มีประโยชน์บาง ชนิดซึ่งเด็กไม่ชอบ และเมื่อเด็กโตขึ้นก็จะผ่านปัญหานี้ไปได้ หรืออาจดัดแปลงอาหารสุขภาพให้เด็กกินได้ง่ายขึ้น เช่น ผสมผักปนเข้าไปในมันบด เป็นต้น เมื่อเด็กโตขึ้น พ่อแม่ต้องสอนให้เห็นถึงความสำคัญของอาหารสุขภาพและชี้ให้เห็นประโยชน์และโทษของอาหารแต่ละชนิดต่อร่างกาย วัยรุ่น วัย รุ่น เป็นวัยที่มีการพัฒนาและการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงต้องการอาหารที่ให้สารอาหารและพลังงานสูง เด็กวัยนี้มักรับประทานอาหารได้มาก แต่สิ่งสำคัญคือต้องมั่นใจว่าเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารมากกว่าขนมหวาน หรืออาหารไขมันสูง เช่น น้ำอัดลม เค้ก ขนมปัง ซึ่งมีแคลลอรี่สูงแต่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ ส่วน ประกอบอาหารของวัยรุ่นที่สำคัญ คือ อาหารประเภทแป้งเป็นพื้นฐาน อุดมด้วยผลไม้และผัก และมีผลิตภัณฑ์โปรตีนและนมในปริมาณปานกลาง นอกจากนี้พวกเขายังสามารถรับประทานอาหารเพื่อเพิ่มพลังงานได้จากขนมขบเคี้ยว ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น ถั่ว ลูกเกดหรือน้ำผลไม้ปั่นระหว่างมื้ออาหาร   รูป ร่างเป็นสิ่งสำคัญที่คนวัยนี้ให้ความสำคัญ แต่ก็ไม่ควรใช้วิธีอดอาหารในการควบคุมน้ำหนัก วิธีที่ดีที่สุดในการควบคุมน้ำหนักคือ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างสมดุลและออกกำลังกายอย่างสม่ำ เสมอ สิ่ง สำคัญอีกประการสำหรับวัยรุ่น คือการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะเพศหญิงซึ่งสูญเสียธาตุเหล็กไปพร้อมประจำเดือน อาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กได้แก่ เนื้อแดง ปลา(โดยเฉพาะปลาซาดีน) พืชตระกูลถั่วและธัญพืช วัยผู้ใหญ่ ความต้องการทางโภชนาการของคนในช่วงอายุ 19-50 ปี ไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก ยกเว้นในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร อาหารสำคัญสำหรับคนวัยนี้ควรเป็นอาหารประเภทแป้งที่มีเส้นใยสูงและผักผลไม้ มีอาหารโปรตีนพอประมาณจาก เนื้อสัตว์ ถั่ว นม และรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลและไขมันในปริมาณน้อย สิ่งสำคัญคือการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมกับส่วนสูงของตนเอง แอลกอฮอล์เป็นเครื่องดื่มที่ให้พลังงานสูง ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและทำลายตับ ดังนั้นควรดื่มในปริมาณจำกัดตามที่มีการแนะนำ  วัยสูงอายุ เมื่อ อายุมากขึ้น ระบบเผาผลาญพลังงานของร่างกายจะลดลง ประกอบกับการมีกิจกรรมทางกายน้อยลง ดังนั้นโดยธรรมชาติแล้ว คนวัยนี้จะเริ่มรับประทานอาหารน้อยลง อย่างไรก็ตามยังควรรับประทานอาหารเป็นประจำ โดยเน้นผักและผลไม้  หาก คุณพบว่าคุณเริ่มเบื่ออาหาร ก็ควรรับประทานอาหารในแต่ละมื้อให้น้อยลง แต่ให้รับประทานอาหารว่างที่มีประโยชน์ในระหว่างมื้ออาหาร และให้เน้นอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน  อย่า ลืมดื่มน้ำให้เพียงพอและรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูงเพื่อป้องกันท้องผูก นอกจากนี้ธาตุเหล็กยังสำคัญสำหรับผู้สูงอายุเช่นกันเพื่อป้องกันโรคโลหิตจาง แหล่งอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงได้แก่ น้ำมันปลา ถั่วอบธัญพืชต่างๆ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแร่ธาตุวิตามินที่เหมาะสม เป็นต้น   เมื่อ คุณอายุมากขึ้น คุณอาจไม่อยากทำอาหารเอง เนื่องจากมีความยุ่งยากในการจับจ่าย ซื้อของ หรือการเตรียมอาหาร คุณจึงอาจซื้ออาหารสำเร็จรูปที่ให้คุณค่าทางอาหารที่ปรุงง่าย เก็บได้นานไว้รับประทานหรือแช่แข็งไว้รับประทานภายหลัง รวมถึงควรมีอาหารกระป๋องที่สามารถเก็บไว้เพื่อรับประทานในกรณีที่คุณไม่ สามารถออกจากบ้านได้ การ ขอความช่วยเหลือจากเพื่อน ญาติพี่น้อง หรือองค์กรทางสังคม ในกรณีที่คุณไม่สามารถจัดซื้อและเตรียมอาหารได้เอง ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรคิดเตรียมการไว้ ที่มา :  https://www.bupa.co.th/th/corporate/health-wellbeing/detail.aspx?tid=70#.VLHzmCuUclA www.ptpfoods.com www.facebook.com/kuunepage Line id :...
อาหารซ่อนเค็ม Infographics

อาหารซ่อนเค็ม Infographics

มูลนิธิหมอชาวบ้าน สื่อเรียนรู้ – อาหารซ่อนเค็ม เกลือ เป็นเครื่องปรุงที่นิยมใช้เพิ่มรสชาติและถนอมอาหาร ปัจจุบันคนไทยบริโภคโซเดียมเฉลี่ย 4,400 มิลลิกรัมต่อวัน ทั้งที่เราควรบริโภคเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวันหรือคิดเป็นโซเดียม 2,000 มิลลิกรัมเท่านั้น ลองมาวัดปริมาณโซเดียมที่เรากินอาหารแต่ละอย่างมีมากน้อยแค่ไหน และจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอย่างไรด้วยตนเอง กับสื่อเรียนรู้ – อาหารซ่อนเค็ม ‪#‎ฉลาดรู้‬ ‪#‎ฉลาดคิด‬ ‪#‎ฉลาดเลือก‬ … ‪#‎KuuNe‬ ‪#‎คูเน่‬ ‪#‎นวัตกรรมผงปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ‬ ‪#‎โซเดียมต่ำ‬ ‪#‎ไม่มีเนื้อสัตว์‬ ‪#‎ผงชูรส‬ ‪#‎สารเคมีปรุงแต่งกลิ่นสีรส‬ ‪#‎ปลอดสารเคมี‬ ‪#‎ธรรมชาติ‬100% ‪#‎2in1‬ ‪#‎ใช้ปรุงอาหาร‬ ต้ม ผัด แกง ทอด หมัก และ ยำ หรือ ‪#‎ใช้ชงดื่มบำรุงสุขภาพ‬ ‪#‎ใส่บาตรถวายพระใช้เป็นเครื่องดื่มระหว่างวัน‬ ‪#‎หอมชงปานะ‬ จากผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตร ได้รับ ‪#‎รางวัลชนะเลิศ‬         www.ptpfoods.com www.facebook.com/kuunepage Line Id :...
ฐานคิดของจริยธรรมและการวิจัยในโลกสมัยใหม่Ethical Thinking in Modern Researchesอรศรี งามวิทยาพงศ์

ฐานคิดของจริยธรรมและการวิจัยในโลกสมัยใหม่Ethical Thinking in Modern Researchesอรศรี งามวิทยาพงศ์

ฐานคิดของจริยธรรมและการวิจัยในโลกสมัยใหม่Ethical Thinking in Modern Researchesอรศรี งามวิทยาพงศ์   หัวข้อหลักสำหรับบทความชิ้นนี้ประกอบด้วยบทนำ ๑. ฐานคิดทางจริยธรรม ๒.จริยธรรมในทัศนะใหม่ ๓. เกณฑ์วินิจฉัยจริยธรรมกับการวิจัย ๔. ความสัมพันธ์เชิงพัฒนาของจริยธรรมและการวิจัย บรรณานุกรม บทนำ    หาก เราสำรวจและสังเกตบทความต่าง ๆ ที่นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับจริยธรรมในการวิจัยนั้น เรื่องของ”สิทธิ, ความซื่อสัตย์ , ความรับผิดชอบ” มักถือเป็นกรอบหรือเกณฑ์หลักของการวินิจฉัยระดับจริยธรรมในการวิจัยทั้งก่อน – ระหว่าง – หลังการวิจัย โดยครอบคลุมทั้งผู้วิจัย ผู้ถูกวิจัย ผู้ใช้งานวิจัย ผู้ให้ทุนวิจัย ฯลฯ แม้กรอบหรือเกณฑ์วินิจฉัยจะอยู่ใน ๓ ประเด็นดังกล่าวเป็นส่วนใหญ่ แต่กระนั้นก็ยังหาข้อสรุปเดียวกันได้ยาก จึงยังมีประเด็นโต้แย้งอย่างหลากหลายในเรื่องจริยธรรมและการวิจัยอยู่อย่าง ต่อเนื่อง ว่าอะไรผิดหรือไม่ผิดจริยธรรม ซึ่งในความเห็นของผู้เขียนคิดว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดทัศนะที่แตกต่างกันนั้นน่าจะมาจาก :๑. ความแตกต่างในฐานคิดของ”จริยธรรม” ทำให้เกิดมุมมองทางจริยธรรมที่แตกต่างกัน ตามคำนิยามและคุณค่าที่กำหนดในจริยธรรมนั้น ๆ เหมือนดังบทความของ Donna L. Deyhle , G. Alfred Hess, Jr. และ Magaret D.LeCompte ชื่อ Approach Ethical Issues for Qualitative Researchers in Education ที่เสนอทฤษฎีจริยธรรม ๕ แบบ (ของ William S. May) เพื่อเป็นกรอบหรือฐานคิดแบบหลวม ๆ เพื่อตอบคำถามว่า “อะไรคือจริยธรรมในการวิจัย ( What is ethical Research ? ) โดยที่แต่ละแบบก็จะมีมุมมองจริยธรรมแตกต่างกันเช่นเดียวกับทัศนะที่มีต่อ การวิจัย ดังนั้นหากรวมฐานคิดของจริยธรรม และการให้ความหมาย”การวิจัย”ในทัศนะอื่น ๆ เข้าไปอีก ความหลากหลายในประเด็นจริยธรรมกับการวิจัยก็คงจะมีมากยิ่งขึ้นไปอีก ๒. ข้อเท็จจริงที่ว่าการวิจัยมิได้เกิดขึ้นท่ามกลางสูญญากาศ หากเกิดขึ้นและปฏิบัติการท่ามกลางความเชื่อ ค่านิยม ระบบอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของมนุษย์และสังคมนั้น ๆ สภาพการณ์นี้ทำให้เรามักพบเสมอว่า มาตรฐานจริยธรรมในการวิจัยกำหนดได้ยาก ไม่เป็นสากล และเป็นสาเหตุทำให้เกิดจริยธรรมที่มีมาตรฐาน ๒ ระดับ ( double standard ) ที่แตกต่างกันต่อเรื่องเดียวกัน เช่นมาตรฐาน ทางจริยธรรมเมื่อทำวิจัยในประเทศพัฒนา จะแตกต่างจากในประเทศด้อยพัฒนา ทั้ง ๆ ที่เป็นนักวิจัยหรือการวิจัยในเรื่องเดียวกัน คือในสังคมซึ่งรู้จักสิทธิ และสนใจสิทธิของตนเอง นักวิจัยอาจจำเป็นจะต้องจำกัดสิทธิของตนเองด้วยการยืดถือจริยธรรมเป็นกรอบ แต่ในสังคมซึ่งยังขาดสิทธิ หรือไม่รู้จักสิทธิของตนเอง นักวิจัยก็มีโอกาสที่จะใช้สิทธิในการวิจัยตามความต้องการของตนเองได้มาก ในลักษณะนี้ จริยธรรมเกิดขึ้นจากการควบคุมของภายนอก ซึ่งผู้วิจัยหรือให้ทุนวิจัยที่ขาดจิตสำนึกจากภายใน ก็อาจจะหาวิธีและโอกาสหลีกเลี่ยงหรือสร้างข้ออ้างที่ชอบธรรมขึ้นมา เมื่องานของตนเองถูกวิจารณ์ในแง่จริยธรรมการ วิจัยแบบนี้จึงมิได้ช่วยพัฒนารากฐานแห่งความคิดทางจริยธรรมของนักวิจัย และทำให้เรื่องของจริยธรรมกลายเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงตามสภาพภายนอก มิใช่เรื่องในวิถีชีวิตปกติ เหมือนดังที่บทความของ Donna L. Deyhle และคณะเสนอไว้ในบทสรุปว่า จริยธรรมมิใช่ประเด็นที่จะพูดถึงเมื่อนักวิจัยจะลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล หรือเมื่อจะทำวิจัยเท่านั้น หากจริยธรรมเป็นเรื่องของวิถีชีวิตหรือการประพฤติปฏิบัติในทุกขณะของชีวิต บุคคลสาระที่ผู้เขียนสนใจ และพยายามที่จะคิดแล้วนำเสนอให้สืบเนื่องจากประเด็นที่กล่าวมาข้างต้น คือ๑.ฐานคิดทางจริยธรรมตามทัศนะของผู้เขียน และฐานคิดดังกล่าวนำไปสู่กรอบหรือเกณฑ์การวินิจฉัยประเด็นจริยธรรมในการวิจัยอย่างไร๒. หากเราต้องการให้จริยธรรมในการวิจัยเป็นเรื่องของวิถีชีวิต มิใช่เป็นเรื่องที่จะคิดถึงเฉพาะเวลาจะลงเก็บข้อมูล หรือคิดจะทำวิจัยเท่านั้น ฐานคิดของการวิจัยและจริยธรรมจะต้องเป็นอย่างไร เชื่อมโยงกันอย่างไร๑. ฐานคิดทางจริยธรรม ใน ทัศนะของผู้เขียน เห็นว่าจริยธรรมจะเป็นวิถีชีวิตและมาจากจิตวิญญาณภายในได้นั้นจะต้องมีฐาน คิดที่เชื่อมโยงเข้ากับสิ่งสูงสุดในธรรมชาติ ซึ่งในทางพุทธศาสนาคือกฎแห่งธรรมชาติ(หรือในศาสนาอื่นคือพระเจ้า) ในหลักการของพุทธศาสนานั้น จริยธรรมคือวิถีการประพฤติปฏิบัติของบุคคลเพื่อสัมพันธ์กับสิ่งภายนอก แล้วความสัมพันธ์นั้นก็กลับมาพัฒนาบุคคลเองด้วย จริยธรรมแบ่งเป็น ๒ ระดับ คือในทัศนะของผู้ เขียน เห็นว่าจริยธรรมจะเป็นวิถีชีวิตและมาจากจิตวิญญาณภายในได้นั้นจะต้องมีฐาน คิดที่เชื่อมโยงเข้ากับสิ่งสูงสุดในธรรมชาติ ซึ่งในทางพุทธศาสนาคือกฎแห่งธรรมชาติ(หรือในศาสนาอื่นคือพระเจ้า) ในหลักการของพุทธศาสนานั้น จริยธรรมคือวิถีการประพฤติปฏิบัติของบุคคลเพื่อสัมพันธ์กับสิ่งภายนอก แล้วความสัมพันธ์นั้นก็กลับมาพัฒนาบุคคลเองด้วย จริยธรรมแบ่งเป็น ๒ ระดับ คือในทัศนะของผู้ เขียน เห็นว่าจริยธรรมจะเป็นวิถีชีวิตและมาจากจิตวิญญาณภายในได้นั้นจะต้องมีฐาน คิดที่เชื่อมโยงเข้ากับสิ่งสูงสุดในธรรมชาติ ซึ่งในทางพุทธศาสนาคือกฎแห่งธรรมชาติ(หรือในศาสนาอื่นคือพระเจ้า) ในหลักการของพุทธศาสนานั้น จริยธรรมคือวิถีการประพฤติปฏิบัติของบุคคลเพื่อสัมพันธ์กับสิ่งภายนอก แล้วความสัมพันธ์นั้นก็กลับมาพัฒนาบุคคลเองด้วย จริยธรรมแบ่งเป็น ๒ ระดับ คือในทัศนะของผู้ เขียน เห็นว่าจริยธรรมจะเป็นวิถีชีวิตและมาจากจิตวิญญาณภายในได้นั้นจะต้องมีฐาน คิดที่เชื่อมโยงเข้ากับสิ่งสูงสุดในธรรมชาติ ซึ่งในทางพุทธศาสนาคือกฎแห่งธรรมชาติ(หรือในศาสนาอื่นคือพระเจ้า) ในหลักการของพุทธศาสนานั้น จริยธรรมคือวิถีการประพฤติปฏิบัติของบุคคลเพื่อสัมพันธ์กับสิ่งภายนอก แล้วความสัมพันธ์นั้นก็กลับมาพัฒนาบุคคลเองด้วย จริยธรรมแบ่งเป็น ๒ ระดับ คือ๑.๑ จริยธรรมในระดับสมมุติสัจจะ เป็นจริยธรรมระดับของคุณธรรมหรือศีลธรรมซึ่งกำหนดขึ้นจากระบบความเชื่อหรือ คุณค่าของสังคมนั้น ๆ เพื่อการอยู่ร่วมกัน ซึ่งแต่ละสังคมอาจแตกต่างกันไปได้ ตามเงื่อนไขสภาวะแวดล้อมและสภาพสังคมแต่ละยุคแต่ละถิ่น เช่น การเอื้อเฟื้อให้ที่นั่งแก่เด็ก เป็นความดีในสังคมไทย แต่ในสังคมซึ่งมีความเชื่อว่า มนุษย์พึงได้รับการฝึกให้ช่วยตนเองให้มากที่สุด เช่น สังคมญี่ปุ่น การลุกให้เด็กนั่ง ไม่ถือเป็นความดี เพราะในสังคมอุตสาหกรรมการช่วยตนเองได้เป็นคุณธรรมอย่างหนึ่ง จริยธรรมระดับนี้ จึงถูกกำหนดโดยมนุษย์ และอาจเปลี่ยนแปลงตามค่านิยม ยุคสมัย ( ทุนนิยมมีจริยธรรมแบบหนึ่ง สังคมนิยมอีกแบบหนึ่ง) จริยธรรมในระดับนี้ จะสร้างความสงบสุขในสังคมได้เพียงใด ขึ้นกับว่าจริยธรรมนั้น อิงอยู่บนฐานของจริยธรรมระดับปรมัตถ์สัจจะ (ความจริงสูงสุดตามธรรมชาติ) หรือระดับที่ ๒ มากเพียงใด๑.๒ จริยธรรมระดับปรมัตถ์สัจจะ คือจริยธรรมที่ตั้งอยู่บนสัจจะสูงสุดหรือกฎความจริงของโลก ไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลา สถานที่ บุคคล สังคม ฯลฯ เป็นจริยธรรมที่ไม่ได้กำหนดโดยมนุษย์ หากแต่เป็นกฎเกณฑ์ของธรรมชาติที่อยู่เหนือสรรพชีวิตและสรรพสิ่งในโลก กำหนดให้มนุษย์ต้องทำตาม เพื่อให้เกิดสมดุลและปกติภาวะในการดำรงอยู่ของโลก กฎเกณฑ์ธรรมชาติหรือปรมัตถ์สัจจะดังกล่าวคือ สรรพสิ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเป็นองค์รวม ในเชิงพึ่งพาอาศัย ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเสมอ ความสัมพันธ์นี้เชื่อมโยงอยู่ในลักษณะเป็นเหตุปัจจัยของกันและกัน สิ่งนี้เป็นเหตุให้เกิดสิ่งนี้ ต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ ( ความรู้ในเรื่องนิเวศวิทยา ช่วยยืนยันสภาวะความสัมพันธ์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ) มนุษย์ในฐานะปัจจัยย่อยหนึ่งของระบบธรรมชาติย่อมต้องขึ้นกับกฎธรรมชาตินี้ ด้วย ในทัศนะของพุทธศาสนา มนุษย์มิได้เป็นศูนย์กลางของธรรมชาติ(โลก) ที่สามารถอยู่อย่างเอกเทศ มีอำนาจในการควบคุมธรรมชาติเหมือนความคิดความเชื่อของปรัชญาตะวันตก ซึ่งเป็นฐานคิดของวิทยาศาสตร์แบบวัตถุหรือปริมาณดัง นั้น การจัดระบบความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่ปราศจากความยุติธรรม มีการเอารัดเอาเปรียบ เอาแต่ได้ฝ่ายเดียว จึงเป็นสภาวะที่ขัดกับกฎธรรมชาติ สังคมนั้นไม่สามารถจะมีสันติภาพ (สันติภาวะ) คือสมดุลหรือดุลยภาพได้ เช่นเดียวกับการที่มนุษย์สัมพันธ์กับระบบนิเวศอย่างไม่สมดุล คือใช้ความรู้ในวิทยาศาสตร์ สร้างเทคโนโลยีเพื่อเอาชนะข้อกำหนดของธรรมชาติ เพื่อสนองความต้องการหรือความพอใจ(ซึ่งไม่ที่ที่สิ้นสุด)ของมนุษย์ พฤติกรรมนี้จะทำลายความสัมพันธ์ในระบบนิเวศที่ซับซ้อนเกินความหยั่งรู้ของ มนุษย์ ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ...
Page 8 of 9« First...56789