มือถือ: 063 516 6296 โทร: 0 2956 6118 โทรสาร: 0 2956 6117 komcharne@gmail.com

ฐานคิดของจริยธรรมและการวิจัยในโลกสมัยใหม่Ethical Thinking in Modern Researchesอรศรี งามวิทยาพงศ์

ฐานคิดของจริยธรรมและการวิจัยในโลกสมัยใหม่Ethical Thinking in Modern Researchesอรศรี งามวิทยาพงศ์

ฐานคิดของจริยธรรมและการวิจัยในโลกสมัยใหม่Ethical Thinking in Modern Researchesอรศรี งามวิทยาพงศ์

 

หัวข้อหลักสำหรับบทความชิ้นนี้ประกอบด้วยบทนำ ๑. ฐานคิดทางจริยธรรม ๒.จริยธรรมในทัศนะใหม่ ๓. เกณฑ์วินิจฉัยจริยธรรมกับการวิจัย ๔. ความสัมพันธ์เชิงพัฒนาของจริยธรรมและการวิจัย บรรณานุกรม

บทนำ 

 

หาก เราสำรวจและสังเกตบทความต่าง ๆ ที่นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับจริยธรรมในการวิจัยนั้น เรื่องของ”สิทธิ, ความซื่อสัตย์ , ความรับผิดชอบ” มักถือเป็นกรอบหรือเกณฑ์หลักของการวินิจฉัยระดับจริยธรรมในการวิจัยทั้งก่อน – ระหว่าง – หลังการวิจัย โดยครอบคลุมทั้งผู้วิจัย ผู้ถูกวิจัย ผู้ใช้งานวิจัย ผู้ให้ทุนวิจัย ฯลฯ แม้กรอบหรือเกณฑ์วินิจฉัยจะอยู่ใน ๓ ประเด็นดังกล่าวเป็นส่วนใหญ่ แต่กระนั้นก็ยังหาข้อสรุปเดียวกันได้ยาก จึงยังมีประเด็นโต้แย้งอย่างหลากหลายในเรื่องจริยธรรมและการวิจัยอยู่อย่าง ต่อเนื่อง ว่าอะไรผิดหรือไม่ผิดจริยธรรม ซึ่งในความเห็นของผู้เขียนคิดว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดทัศนะที่แตกต่างกันนั้นน่าจะมาจาก :๑. ความแตกต่างในฐานคิดของ”จริยธรรม” ทำให้เกิดมุมมองทางจริยธรรมที่แตกต่างกัน ตามคำนิยามและคุณค่าที่กำหนดในจริยธรรมนั้น ๆ เหมือนดังบทความของ Donna L. Deyhle , G. Alfred Hess, Jr. และ Magaret D.LeCompte ชื่อ Approach Ethical Issues for Qualitative Researchers in Education ที่เสนอทฤษฎีจริยธรรม ๕ แบบ (ของ William S. May) เพื่อเป็นกรอบหรือฐานคิดแบบหลวม ๆ เพื่อตอบคำถามว่า “อะไรคือจริยธรรมในการวิจัย ( What is ethical Research ? ) โดยที่แต่ละแบบก็จะมีมุมมองจริยธรรมแตกต่างกันเช่นเดียวกับทัศนะที่มีต่อ การวิจัย ดังนั้นหากรวมฐานคิดของจริยธรรม และการให้ความหมาย”การวิจัย”ในทัศนะอื่น ๆ เข้าไปอีก ความหลากหลายในประเด็นจริยธรรมกับการวิจัยก็คงจะมีมากยิ่งขึ้นไปอีก


๒. ข้อเท็จจริงที่ว่าการวิจัยมิได้เกิดขึ้นท่ามกลางสูญญากาศ หากเกิดขึ้นและปฏิบัติการท่ามกลางความเชื่อ ค่านิยม ระบบอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของมนุษย์และสังคมนั้น ๆ สภาพการณ์นี้ทำให้เรามักพบเสมอว่า มาตรฐานจริยธรรมในการวิจัยกำหนดได้ยาก ไม่เป็นสากล และเป็นสาเหตุทำให้เกิดจริยธรรมที่มีมาตรฐาน ๒ ระดับ ( double standard ) ที่แตกต่างกันต่อเรื่องเดียวกัน เช่นมาตรฐาน ทางจริยธรรมเมื่อทำวิจัยในประเทศพัฒนา จะแตกต่างจากในประเทศด้อยพัฒนา ทั้ง ๆ ที่เป็นนักวิจัยหรือการวิจัยในเรื่องเดียวกัน คือในสังคมซึ่งรู้จักสิทธิ และสนใจสิทธิของตนเอง นักวิจัยอาจจำเป็นจะต้องจำกัดสิทธิของตนเองด้วยการยืดถือจริยธรรมเป็นกรอบ แต่ในสังคมซึ่งยังขาดสิทธิ หรือไม่รู้จักสิทธิของตนเอง นักวิจัยก็มีโอกาสที่จะใช้สิทธิในการวิจัยตามความต้องการของตนเองได้มาก ในลักษณะนี้ จริยธรรมเกิดขึ้นจากการควบคุมของภายนอก ซึ่งผู้วิจัยหรือให้ทุนวิจัยที่ขาดจิตสำนึกจากภายใน ก็อาจจะหาวิธีและโอกาสหลีกเลี่ยงหรือสร้างข้ออ้างที่ชอบธรรมขึ้นมา เมื่องานของตนเองถูกวิจารณ์ในแง่จริยธรรมการ วิจัยแบบนี้จึงมิได้ช่วยพัฒนารากฐานแห่งความคิดทางจริยธรรมของนักวิจัย และทำให้เรื่องของจริยธรรมกลายเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงตามสภาพภายนอก มิใช่เรื่องในวิถีชีวิตปกติ เหมือนดังที่บทความของ Donna L. Deyhle และคณะเสนอไว้ในบทสรุปว่า จริยธรรมมิใช่ประเด็นที่จะพูดถึงเมื่อนักวิจัยจะลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล หรือเมื่อจะทำวิจัยเท่านั้น หากจริยธรรมเป็นเรื่องของวิถีชีวิตหรือการประพฤติปฏิบัติในทุกขณะของชีวิต บุคคลสาระที่ผู้เขียนสนใจ และพยายามที่จะคิดแล้วนำเสนอให้สืบเนื่องจากประเด็นที่กล่าวมาข้างต้น คือ๑.ฐานคิดทางจริยธรรมตามทัศนะของผู้เขียน และฐานคิดดังกล่าวนำไปสู่กรอบหรือเกณฑ์การวินิจฉัยประเด็นจริยธรรมในการวิจัยอย่างไร๒. หากเราต้องการให้จริยธรรมในการวิจัยเป็นเรื่องของวิถีชีวิต มิใช่เป็นเรื่องที่จะคิดถึงเฉพาะเวลาจะลงเก็บข้อมูล หรือคิดจะทำวิจัยเท่านั้น ฐานคิดของการวิจัยและจริยธรรมจะต้องเป็นอย่างไร เชื่อมโยงกันอย่างไร๑. ฐานคิดทางจริยธรรม
ใน ทัศนะของผู้เขียน เห็นว่าจริยธรรมจะเป็นวิถีชีวิตและมาจากจิตวิญญาณภายในได้นั้นจะต้องมีฐาน คิดที่เชื่อมโยงเข้ากับสิ่งสูงสุดในธรรมชาติ ซึ่งในทางพุทธศาสนาคือกฎแห่งธรรมชาติ(หรือในศาสนาอื่นคือพระเจ้า) ในหลักการของพุทธศาสนานั้น จริยธรรมคือวิถีการประพฤติปฏิบัติของบุคคลเพื่อสัมพันธ์กับสิ่งภายนอก แล้วความสัมพันธ์นั้นก็กลับมาพัฒนาบุคคลเองด้วย จริยธรรมแบ่งเป็น ๒ ระดับ คือ
ในทัศนะของผู้ เขียน เห็นว่าจริยธรรมจะเป็นวิถีชีวิตและมาจากจิตวิญญาณภายในได้นั้นจะต้องมีฐาน คิดที่เชื่อมโยงเข้ากับสิ่งสูงสุดในธรรมชาติ ซึ่งในทางพุทธศาสนาคือกฎแห่งธรรมชาติ(หรือในศาสนาอื่นคือพระเจ้า) ในหลักการของพุทธศาสนานั้น จริยธรรมคือวิถีการประพฤติปฏิบัติของบุคคลเพื่อสัมพันธ์กับสิ่งภายนอก แล้วความสัมพันธ์นั้นก็กลับมาพัฒนาบุคคลเองด้วย จริยธรรมแบ่งเป็น ๒ ระดับ คือในทัศนะของผู้ เขียน เห็นว่าจริยธรรมจะเป็นวิถีชีวิตและมาจากจิตวิญญาณภายในได้นั้นจะต้องมีฐาน คิดที่เชื่อมโยงเข้ากับสิ่งสูงสุดในธรรมชาติ ซึ่งในทางพุทธศาสนาคือกฎแห่งธรรมชาติ(หรือในศาสนาอื่นคือพระเจ้า) ในหลักการของพุทธศาสนานั้น จริยธรรมคือวิถีการประพฤติปฏิบัติของบุคคลเพื่อสัมพันธ์กับสิ่งภายนอก แล้วความสัมพันธ์นั้นก็กลับมาพัฒนาบุคคลเองด้วย จริยธรรมแบ่งเป็น ๒ ระดับ คือในทัศนะของผู้ เขียน เห็นว่าจริยธรรมจะเป็นวิถีชีวิตและมาจากจิตวิญญาณภายในได้นั้นจะต้องมีฐาน คิดที่เชื่อมโยงเข้ากับสิ่งสูงสุดในธรรมชาติ ซึ่งในทางพุทธศาสนาคือกฎแห่งธรรมชาติ(หรือในศาสนาอื่นคือพระเจ้า) ในหลักการของพุทธศาสนานั้น จริยธรรมคือวิถีการประพฤติปฏิบัติของบุคคลเพื่อสัมพันธ์กับสิ่งภายนอก แล้วความสัมพันธ์นั้นก็กลับมาพัฒนาบุคคลเองด้วย จริยธรรมแบ่งเป็น ๒ ระดับ คือ๑.๑ จริยธรรมในระดับสมมุติสัจจะ เป็นจริยธรรมระดับของคุณธรรมหรือศีลธรรมซึ่งกำหนดขึ้นจากระบบความเชื่อหรือ คุณค่าของสังคมนั้น ๆ เพื่อการอยู่ร่วมกัน ซึ่งแต่ละสังคมอาจแตกต่างกันไปได้ ตามเงื่อนไขสภาวะแวดล้อมและสภาพสังคมแต่ละยุคแต่ละถิ่น เช่น การเอื้อเฟื้อให้ที่นั่งแก่เด็ก เป็นความดีในสังคมไทย แต่ในสังคมซึ่งมีความเชื่อว่า มนุษย์พึงได้รับการฝึกให้ช่วยตนเองให้มากที่สุด เช่น สังคมญี่ปุ่น การลุกให้เด็กนั่ง ไม่ถือเป็นความดี เพราะในสังคมอุตสาหกรรมการช่วยตนเองได้เป็นคุณธรรมอย่างหนึ่ง จริยธรรมระดับนี้ จึงถูกกำหนดโดยมนุษย์ และอาจเปลี่ยนแปลงตามค่านิยม ยุคสมัย ( ทุนนิยมมีจริยธรรมแบบหนึ่ง สังคมนิยมอีกแบบหนึ่ง) จริยธรรมในระดับนี้ จะสร้างความสงบสุขในสังคมได้เพียงใด ขึ้นกับว่าจริยธรรมนั้น อิงอยู่บนฐานของจริยธรรมระดับปรมัตถ์สัจจะ (ความจริงสูงสุดตามธรรมชาติ) หรือระดับที่ ๒ มากเพียงใด๑.๒ จริยธรรมระดับปรมัตถ์สัจจะ คือจริยธรรมที่ตั้งอยู่บนสัจจะสูงสุดหรือกฎความจริงของโลก ไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลา สถานที่ บุคคล สังคม ฯลฯ เป็นจริยธรรมที่ไม่ได้กำหนดโดยมนุษย์ หากแต่เป็นกฎเกณฑ์ของธรรมชาติที่อยู่เหนือสรรพชีวิตและสรรพสิ่งในโลก กำหนดให้มนุษย์ต้องทำตาม เพื่อให้เกิดสมดุลและปกติภาวะในการดำรงอยู่ของโลก กฎเกณฑ์ธรรมชาติหรือปรมัตถ์สัจจะดังกล่าวคือ สรรพสิ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเป็นองค์รวม ในเชิงพึ่งพาอาศัย ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเสมอ ความสัมพันธ์นี้เชื่อมโยงอยู่ในลักษณะเป็นเหตุปัจจัยของกันและกัน สิ่งนี้เป็นเหตุให้เกิดสิ่งนี้ ต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ ( ความรู้ในเรื่องนิเวศวิทยา ช่วยยืนยันสภาวะความสัมพันธ์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ) มนุษย์ในฐานะปัจจัยย่อยหนึ่งของระบบธรรมชาติย่อมต้องขึ้นกับกฎธรรมชาตินี้ ด้วย ในทัศนะของพุทธศาสนา มนุษย์มิได้เป็นศูนย์กลางของธรรมชาติ(โลก) ที่สามารถอยู่อย่างเอกเทศ มีอำนาจในการควบคุมธรรมชาติเหมือนความคิดความเชื่อของปรัชญาตะวันตก ซึ่งเป็นฐานคิดของวิทยาศาสตร์แบบวัตถุหรือปริมาณดัง นั้น การจัดระบบความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่ปราศจากความยุติธรรม มีการเอารัดเอาเปรียบ เอาแต่ได้ฝ่ายเดียว จึงเป็นสภาวะที่ขัดกับกฎธรรมชาติ สังคมนั้นไม่สามารถจะมีสันติภาพ (สันติภาวะ) คือสมดุลหรือดุลยภาพได้ เช่นเดียวกับการที่มนุษย์สัมพันธ์กับระบบนิเวศอย่างไม่สมดุล คือใช้ความรู้ในวิทยาศาสตร์ สร้างเทคโนโลยีเพื่อเอาชนะข้อกำหนดของธรรมชาติ เพื่อสนองความต้องการหรือความพอใจ(ซึ่งไม่ที่ที่สิ้นสุด)ของมนุษย์ พฤติกรรมนี้จะทำลายความสัมพันธ์ในระบบนิเวศที่ซับซ้อนเกินความหยั่งรู้ของ มนุษย์ ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ การทำลายล้างดังกล่าว จะย้อนกลับมาลงโทษมนุษย์ด้วยอย่างรุนแรงและหลีกหนีไม่พ้น ตามกฎแห่งการกระทำ(กรรม ) เช่น ความแปรปรวนของภูมิอากาศ การลดลงของชั้นโอโซน อันเป็นสาเหตุของมะเร็งผิวหนัง การระบาดของโรคพืช สัตว์ มนุษย์ อันเนื่องมาจากกลไกการควบคุมกันเองของแบคทีเรีย ไวรัส ฯลฯ ถูกทำลายลงจากความแปรปรวนในระบบนิเวศ ที่สืบเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ รวมทั้งความแปรปรวนในพฤติกรรมและจิตใจของมนุษย์เองด้วยผู้ เขียนเชื่อว่า จริยธรรมระดับที่ ๒ มิใช่ข้อกำหนดที่ให้เลือกว่าจะเอาหรือไม่เอา จะทำตามหรือไม่ทำตาม คือไม่ว่าจะชอบหรือไม่อย่างไร ก็จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้แล้วทำตามกฎธรรมชาตินี้ หากมนุษย์ต้องการที่จะดำรงเผ่าพันธุ์และมีสังคมที่สงบสุข เพราะจริยธรรมนี้อยู่เหนือการกำหนดและการต่อรองของมนุษย์๒.จริยธรรมในทัศนะใหม่ จากฐานคิดทางจริยธรรมดังกล่าว ผู้เขียนมีความเห็นหรือมุมมองในเรื่องของจริยธรรมและการวิจัยดังนี้๒.๑ จริยธรรมมิใช่เป็นเพียงเรื่องของความดีความเลว(สมมุติสัจจะ) แต่เป็นเรื่องของความจริงด้วย บรรทัดฐานของจริยธรรมในสังคม จะต้องตั้งอยู่บนกฎเกณฑ์ของธรรมชาติหรือโลก จึงจะทำให้สังคมสงบสุขอย่างยั่งยืนได้ การประพฤติปฏิบัติตามจริยธรรม จึงเป็นเรื่องกระบวนการเรียนรู้ในวิถีชีวิตบุคคล เพื่อเข้าสู่สภาวะธรรมชาติ เกิดความหยั่งรู้ถึงกฎเกณฑ์ของโลกมากขึ้น และปฏิบัติตามได้อย่างสอดคล้องกลมกลืนทั้งระดับบุคคลและสังคม๒.๒ จริยธรรมเป็นเรื่องของระบบความสัมพันธ์ที่อิงกับกฎความจริงของธรรมชาติ การจัดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์จึงต้องเป็นไปอย่างอิงอาศัยกัน เป็นผู้ให้และผู้รับ ปราศจากการเอารัดเอาเปรียบ ดังนั้น สังคมซึ่งคนหมู่มากไม่ได้รับความเป็นธรรม มีความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่เหลื่อมล้ำแตกต่างมาก มีฝ่ายหนึ่งใช้อำนาจกระทำต่ออีกฝ่ายหนึ่งอยู่ตลอดเวลา จึงขัดกับกฎธรรมชาติ ถือเป็นพฤติกรรมที่ขาดจริยธรรมในระดับปรมัตถ์สัจจะ ในขณะเดียวกันความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสรรพชีวิตอื่นในธรรมชาติก็ ต้องอยู่ในลักษณะเดียวกันนี้ด้วย คือไม่มุ่งเอาประโยชน์ของมนุษย์เป็นตัวตั้งฝ่ายเดียว ( เช่น การทำเกษตรกรรมเคมีในระบบปัจจุบัน )๒.๓ ผลกระทบจากความเสื่อมถอยของศาสนา ทั้งสถาบันและคำสอน มีผลให้ความหมายของจริยธรรมในระดับปรมัตถ์สัจจะเลือนหายไป และถูกทำให้คลาดเคลื่อนไปตามกระแสความเปลี่ยนแปลงที่เข้ามากระทบ โดยเฉพาะของระบบทุนนิยมและอำนาจนิยม ทำให้จริยธรรมระดับแรกไร้รากหรือขาดฐานคิดของปรมัตถ์สัจจะ จึงล้าสมัย มีคุณค่าน้อยในทัศนะของคนสมัยใหม่ เพราะอาจเป็นจริยธรรมในยุคสมัยเดิมซึ่งสังคมยังไม่ซับซ้อน(สังคมเกษตรกรรม) ปัญหาไม่หนักหน่วงรุนแรงเช่นปัจจุบัน ที่สังคมมีขนาดใหญ่มีลักษณะโลกาภิวัตน์ เมื่อนำจริยธรรมที่เป็นปัญหาดังกล่าวมาเชื่อมโยงกับการวิจัย จึงทำให้เกณฑ์การวินิจฉัยเกิดความคลุมเครือ ไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาทั้งงานวิจัยและนักวิจัย๒.๔ หากพิจารณาจริยธรรมในความหมายระดับที่ ๒ คือมุ่งการสร้างสังคมที่มีสภาวะสอดคล้องกับกฎธรรมชาติ ( พึ่งพาอาศัย มีสมดุล สันติภาพ ) กรอบจริยธรรมจะต้องได้รับการขยายความใหม่ ให้ครอบคลุมสังคมที่มีพฤติกรรมและระบบความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนอย่างเช่น ปัจจุบันได้ ตัวอย่างเช่น– รูปแบบการพัฒนาที่นำไปสู่การทำลายล้างทรัพยากรธรรมชาติ สรรพชีวิตอื่น ระบบนิเวศ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ถือว่าผิดจริยธรรม– การที่คนส่วนมากตกอยู่ในสภาพถูกเอารัดเอาเปรียบ มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างอดอยากขาดแคลน คับแค้น เป็นสังคมซึ่งขาดจริยธรรม– การที่คนเมืองใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย ด้วยการแย่งชิงจากชนบท ( แม้จะถูกกฎหมาย) ถือว่าผิดจริยธรรม เช่น การใช้น้ำ ไฟฟ้าอย่างฟุ่มเฟือยเพื่อบำรุงความสุข ความสะดวกสบาย เนื่องจากทำให้เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น ระบบนิเวศถูกกระทบมากขึ้น เพราะการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้า ทำให้ต้นไม้ – สัตว์ป่าจำนวนมหาศาลถูกรบกวนและทำลายล้าง ชุมชนถูกไล่ที่ และการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหินก่อให้เกิดมลพิษในอากาศ ฯลฯ– การสร้างมลภาวะ มลพิษแก่สิ่งแวดล้อม ไม่ว่าบนบก น้ำ อากาศ เป็นการประทำที่ผิดจริยธรรม เพราะทำลายสุขภาพของผู้อื่น ( ทั้งมนุษย์ สัตว์ พืช ) และทำลายระบบนิเวศ ก่อผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหาร วงจรชีวิตของสิ่งมีชีวิตอื่น– การกระทำหลายอย่างแม้จะไม่ผิดกฎหมาย แต่ก็ผิดจริยธรรมได้ กฎหมายไม่เป็นบรรทัดฐานของจริยธรรม เนื่องจากกฎหมายกำหนดขึ้นตามอำนาจและทัศนคติของผู้บัญญัติ หรือตามความต้องการของมนุษย์ฝ่ายเดียว โดยมิได้คำนึงถึงการอยู่อาศัยร่วมกับสรรพชีวิตอื่น เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ– พฤติกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ของคนในสังคม ก็มีความเกี่ยวโยงทางจริยธรรมด้วย เช่น การสวมหมวกกันกระแทก การคาดเข็มขัดนิรภัย การขับรถโดยไม่ประมาท ฯลฯ เพราะการป้องกันหรือหาทางลดความรุนแรงจากอุบัติที่ป้องกันได้ ช่วยให้ทรัพยากรทางการแพทย์ (งบประมาณสาธารณสุข บุคลากร เวลา สถานที่ ) ได้รับการสงวนไว้สำหรับความเจ็บป่วยที่หลีกเลี่ยงได้ยาก โดยเฉพาะแก่คนยากจน แม้แต่การไม่ทิ้งขยะลงบนถนน ก็เป็นประเด็นทางจริยธรรม เพราะช่วยให้คนกวาดถนนไม่ต้องทำงานหนัก เสียสุขภาพ มีเวลาอยู่กับครอบครัวของตนเองมากขึ้น ฯลฯ

 

๓. เกณฑ์วินิจฉัยจริยธรรมกับการวิจัย จริยธรรม ในความหมายที่กล่าวมา เมื่อนำมาวินิจฉัยในบริบทของการวิจัย ว่าการวิจัยอะไร ,อย่างไร ผิดจริยธรรมหรือไม่ จึงมีนัยกว้างกว่าการตีความออกมาเป็นข้อกำหนดหรือจรรยาบรรณ ผิดถูก ผู้เขียนเห็นว่า๓.๑ การวิจัยซึ่งเป็นไปเพื่อส่งเสริม ธำรงรักษาไว้ซึ่งระบบความสัมพันธ์อันไม่ยุติธรรมในสังคมเป็นการวิจัยที่ผิด จริยธรรม คือทำให้คนหมู่มากเสียประโยชน์ หรือถูกเอาเปรียบมากขึ้น หรือทำให้ผู้ด้อยโอกาส เสียโอกาสมากขึ้น เช่น กรณีนักวิจัยไทยรับทุนการวิจัยจากบรรษัทข้ามชาติด้านอาหาร เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์นมสูตรใหม่ที่ช่วยให้เด็กทารกเสียชีวิตจากการท้องเสีย น้อยลง(เหตุการณ์นี้เกิดเป็นข่าวในปี 2541 กับเด็กในสถานสงเคราะห์ของรัฐ) ในทัศนะของผู้เขียนเห็นว่า การวิจัยดังกล่าวผิดจริยธรรม เนื่องจาก– เป็นการกดขี่เอาเปรียบเด็กกำพร้าในสถานสงเคราะห์ ซึ่งไม่มีทางเลือกหรือทางปฏิเสธการถูกวิจัย ทั้ง ๆ ที่เด็กเหล่านี้อยู่ในสถานภาพของคนด้อยโอกาสทางสังคมอยู่แล้ว– องค์กรผู้ให้ทุนการวิจัย เป็นองค์กรที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่องยาวนานมาทั้งในสังคมไทยและ ทั่วโลก ในทางทำลายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยอาศัยกลยุทธการตลาด การโฆษณา ทั้ง ๆ ที่นมแม่ได้รับการวิจัยยืนยันว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพเด็กมากกว่า เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกมากกว่า การวิจัยดังกล่าวจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้ให้ทุนวิจัยมากกว่า แม้ว่าผู้วิจัยจะอ้างว่าผลประโยชน์ที่ได้รับจะช่วยให้เกิดการพัฒนานมสูตร ใหม่ที่ช่วยลดการท้องเสียเป็นประโยชน์ส่วนรวมแก่เด็ก เพราะความจริงคือผลการวิจัยจะถูกนำไปใช้ทางธุรกิจของบรรษัทดังกล่าวเช่นที่ เกิดขึ้นมาโดยตลอด กรณีนี้เป็นตัวอย่างของจริยธรรมแบบ ๒ มาตรฐาน (double standard ) ที่ชัดเจนกรณีหนึ่ง เพราะการวิจัยแบบนี้ ไม่สามารถทำได้ในประเทศพัฒนาแล้ว๓.๒ เป้าหมายการวิจัยเป็นตัวบ่งชี้จริยธรรมที่สำคัญประการหนึ่ง จึงเป็นสิ่งที่นักวิจัยจะต้องคิดวิเคราะห์ให้ชัดเจน ว่าตนเองทำวิจัยเพื่ออะไร เพื่อผู้ด้อยโอกาส ไร้อำนาจ ให้มีโอกาส มีศักยภาพ ในระบบความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นหรือแย่ลง ผู้เขียนเห็นด้วยกับการวิจัยตามทฤษฎีแบบที่ ๔ ( Critical Theory and Advocacy ) ว่าการวิจัยควรมีจุดมุ่งหมายเพื่อผู้ไร้อำนาจ ถูกทอดทิ้ง และเห็นว่าควรขยายขอบเขตไปตามฐานคิดทางจริยธรรมว่า แม้สัตว์ พืช ก็ไม่ควรถูกนำมาวิจัย เพื่อประโยชน์ของมนุษย์ฝ่ายเดียว เช่น การวิจัยทดลองความปลอดภัยการขับขี่รถยนต์โดยการใช้ลิงเป็นตัวทดลองถือว่าไม่ ถูกจริยธรรม คือแทนที่มนุษย์จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใส่ใจต่อความไม่ประมาทให้มากขึ้น กลับหาทางแก้ไขที่ปลายเหตุโดยการทำร้ายชีวิตอื่น โดยเฉพาะการวิจัยเพื่อนำไปสู่การสร้างความรู้เพื่อทำผิดจริยธรรม(กฎ ธรรมชาติ)มากขึ้น เช่นการโคลนนิ่ง ( Cloning ) , การวิจัยเพาะพันธุ์กบไม่มีหัว เพื่อแสวงหาทางสร้างอะไหล่มนุษย์ เป็นต้นอย่าง ไรก็ตาม ผู้เขียนมิได้ต่อต้านหรือเห็นว่าการวิจัยของธุรกิจผิดไปเสียทั้งหมด ทั้งนี้ขึ้นกับฐานของเป้าหมายว่า เพื่อตอบสนองทางธุรกิจเป็นหลักล้วน ๆ แต่เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่สนใจส่วนอื่นใดเลย และเป็นไปเพิ่มอำนาจให้แก่ผู้มีอำนาจมากอยู่แล้วหรือไม่ และเป็นไปเพื่อจะฝืนกฎเกณฑ์ธรรมชาติ หรือเพื่ออนุรักษ์ระบบนิเวศให้ยั่งยืน ดังนั้นการปลอมตัวของนักวิจัยเพื่อเข้าไปในประเทศอัฟริกาใต้ ในยุคที่ยังแบ่งแยกสีผิวนั้น ผู้เขียนเห็นว่าแม้จะผิดจากความจริง (ปลอมตัว) แต่กระทำไปเพื่อประโยชน์ของคนอื่นมากกว่าผู้ทำวิจัย คือปรารถนาที่จะวิจัยสภาพการกดขี่ทารุณในประเทศนั้น เพื่อนำไปสู่การให้ความช่วยเหลือ เพิ่มอำนาจให้แก่ผู้ไร้อำนาจ เช่นเดียวกับการปลอมตัวเพื่อตรวจสอบระบบบริการผู้ป่วยระยะสุดท้ายของโรง พยาบาล ในประเทศอังกฤษ เพื่อช่วยให้ผู้ขาดโอกาสได้รับบริการที่ดีขึ้น ในขณะเดียวกันก็เป็นการทำให้พนักงานในที่ทำงานแห่งนั้นจะต้องพัฒนาปรับปรุง ตนเองให้ทำงานด้วยความรับผิดชอบมากขึ้น เป็นคนที่มีคุณภาพมากขึ้น จึงไม่ได้เสียประโยชน์อะไร ( ถ้าผู้วิจัยยืนยันว่าผลการวิจัยจะไม่นำไปสู่การลงโทษ แต่นำไปสู่การพัฒนาบุคลากร )อย่าง ไรก็ตาม การปลอมตัว การพูดเท็จ หรือการกระทำอื่นใดซึ่งไม่ตรงกับความจริงต้องถือว่าผิดไปจากความจริงตาม ธรรมชาติ แต่ความผิดจะหนักหรือเบาเพียงใดขึ้นกับเจตนาเป็นตัวตัดสินด้วย แต่นักวิจัยจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่า เจตนามิใช่สิ่งที่จะเปลี่ยนสิ่งที่ผิดจากความจริงให้เป็นถูกได้ ความถูกผิดในระดับปรมัตถ์มิได้กำหนดโดยคน ค่านิยม หรือตามตัวอักษร หากถือหลักตามความจริงของธรรมชาติ เป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น ฉะนั้น ความเท็จจึงเป็นสิ่งที่พึงหลีกเลี่ยงและใช้เมื่อเป็นหนทางสุดท้าย เพื่อประโยชน์ของคนอื่นที่ด้อยโอกาสหรือทุกข์ยากเท่านั้น และจะต้องตระหนักถึงการแสวงหาแนวทางที่ดีกว่าในครั้งต่อไปเสมอ


๔. ความสัมพันธ์เชิงพัฒนาของจริยธรรมและการวิจัย 5
ผู้ เขียนเห็นว่า จริยธรรมและการวิจัย ควรมีเป้าหมายเดียวกัน คือเพื่อพัฒนามนุษย์และสังคม ให้ดำรงอยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ ทั้ง ๒ เรื่องจึงมีความสัมพันธ์ในเชิงพัฒนากันและกัน คือจริยธรรมระดับที่ ๒ จะช่วยพัฒนาเป้าหมายของการวิจัย ให้เข้าสู่การสร้างจริยธรรมตามปรมัตถ์สัจจะมากขึ้น เกิดสังคมที่มีสมดุลและสันติภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกันการวิจัยก็จะเป็นเครื่องมือหรือวิธีการสร้างจริยธรรมในบุคคล และสังคมด้วย ซึ่งในประเด็นหลังนี้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเราขยายความหมายของการวิจัยออกไปจากเดิม คือการวิจัยตามความหมายในพุทธศาสนานั้น มิใช่เป็นกิจกรรมหรือภารกิจของนักวิจัยอาชีพ หากการวิจัยมีความหมายเท่ากับ”ปัญญา” การวิจัยจึงเป็นกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาตนเองของคนทุกคน เพื่อเข้าสู่ปรมัตถ์สัจจะ สามารถจัดชีวิตและสังคมของตนเองให้สอดคล้องกับกฎธรรมชาติได้
ผู้ เขียนเห็นว่า จริยธรรมและการวิจัย ควรมีเป้าหมายเดียวกัน คือเพื่อพัฒนามนุษย์และสังคม ให้ดำรงอยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ ทั้ง ๒ เรื่องจึงมีความสัมพันธ์ในเชิงพัฒนากันและกัน คือจริยธรรมระดับที่ ๒ จะช่วยพัฒนาเป้าหมายของการวิจัย ให้เข้าสู่การสร้างจริยธรรมตามปรมัตถ์สัจจะมากขึ้น เกิดสังคมที่มีสมดุลและสันติภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกันการวิจัยก็จะเป็นเครื่องมือหรือวิธีการสร้างจริยธรรมในบุคคล และสังคมด้วย ซึ่งในประเด็นหลังนี้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเราขยายความหมายของการวิจัยออกไปจากเดิม คือการวิจัยตามความหมายในพุทธศาสนานั้น มิใช่เป็นกิจกรรมหรือภารกิจของนักวิจัยอาชีพ หากการวิจัยมีความหมายเท่ากับ”ปัญญา” การวิจัยจึงเป็นกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาตนเองของคนทุกคน เพื่อเข้าสู่ปรมัตถ์สัจจะ สามารถจัดชีวิตและสังคมของตนเองให้สอดคล้องกับกฎธรรมชาติได้ผู้ เขียนเห็นว่า จริยธรรมและการวิจัย ควรมีเป้าหมายเดียวกัน คือเพื่อพัฒนามนุษย์และสังคม ให้ดำรงอยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ ทั้ง ๒ เรื่องจึงมีความสัมพันธ์ในเชิงพัฒนากันและกัน คือจริยธรรมระดับที่ ๒ จะช่วยพัฒนาเป้าหมายของการวิจัย ให้เข้าสู่การสร้างจริยธรรมตามปรมัตถ์สัจจะมากขึ้น เกิดสังคมที่มีสมดุลและสันติภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกันการวิจัยก็จะเป็นเครื่องมือหรือวิธีการสร้างจริยธรรมในบุคคล และสังคมด้วย ซึ่งในประเด็นหลังนี้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเราขยายความหมายของการวิจัยออกไปจากเดิม คือการวิจัยตามความหมายในพุทธศาสนานั้น มิใช่เป็นกิจกรรมหรือภารกิจของนักวิจัยอาชีพ หากการวิจัยมีความหมายเท่ากับ”ปัญญา” การวิจัยจึงเป็นกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาตนเองของคนทุกคน เพื่อเข้าสู่ปรมัตถ์สัจจะ สามารถจัดชีวิตและสังคมของตนเองให้สอดคล้องกับกฎธรรมชาติได้ผู้ เขียนเห็นว่า จริยธรรมและการวิจัย ควรมีเป้าหมายเดียวกัน คือเพื่อพัฒนามนุษย์และสังคม ให้ดำรงอยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ ทั้ง ๒ เรื่องจึงมีความสัมพันธ์ในเชิงพัฒนากันและกัน คือจริยธรรมระดับที่ ๒ จะช่วยพัฒนาเป้าหมายของการวิจัย ให้เข้าสู่การสร้างจริยธรรมตามปรมัตถ์สัจจะมากขึ้น เกิดสังคมที่มีสมดุลและสันติภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกันการวิจัยก็จะเป็นเครื่องมือหรือวิธีการสร้างจริยธรรมในบุคคล และสังคมด้วย ซึ่งในประเด็นหลังนี้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเราขยายความหมายของการวิจัยออกไปจากเดิม คือการวิจัยตามความหมายในพุทธศาสนานั้น มิใช่เป็นกิจกรรมหรือภารกิจของนักวิจัยอาชีพ หากการวิจัยมีความหมายเท่ากับ”ปัญญา” การวิจัยจึงเป็นกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาตนเองของคนทุกคน เพื่อเข้าสู่ปรมัตถ์สัจจะ สามารถจัดชีวิตและสังคมของตนเองให้สอดคล้องกับกฎธรรมชาติได้การ วิจัยตามนัยนี้ จึงหมายความว่า คนทุกคนควรได้รับการส่งเสริมให้เป็นนักวิจัย เช่นในการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ประถมศึกษา มัธยมศึกษา จนกระทั่งถึงมหาวิทยาลัย ผู้เรียนควรได้วิจัยชีวิตตนเองและสิ่งรอบตัว รู้จักการตั้งคำถามและวิธีการหาคำตอบ คนทุกระดับโดยเฉพาะคนด้อยโอกาสควรมีโอกาสได้วิจัยชีวิตและปัญหาของตนเอง ให้เกิดปัญญาเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาของตนเองหาก ทำได้ดังนี้ ทั้งการวิจัยและจริยธรรมก็จะเป็นวิถีชีวิตของคนทั้งหมดในสังคม มิใช่ของนักวิจัย ผู้ให้ทุนวิจัย หรือผู้บริโภคงานวิจัยเท่านั้น และจะเป็นกระบวนการเสริมสร้างพลังให้แก่ผู้ด้อยโอกาสด้วย ที่สำคัญที่สุดคือ จะนำไปสู่ชีวิตและสังคมที่ตั้งอยู่บนความดี ความงาม และความจริงของโลกด้วย.

 

บรรณานุกรม

Deyhle , Donna L. , Hess , G. Alfred , LeCompte , Magaret D. “Approach Ethical Issues for Qualitative Researchers in Education”. in The Handbook of Qualitative Research in Education. ( San Diego , Academic Press, 1992 )

Patai , Daphne. ” U.S. Academics and Third World Women : Is Ethical Research Possible ? in Gluck & Patai . Women’ s Words , 1991

Rubin & Bubbies. “The Ethics and Politics of Social Work Research” in Research Methods of Social Work. 1993

Useem , Michael & Marx , Gary t. , “Ethical dilemmas and political considerations” in : Smith, Robert B. , An Introduction to Social Research.

พระธรรมปิฎก. การศึกษากับการวิจัยเพื่ออนาคตของประเทศไทย. ( กรุงเทพฯ : กองทุนวุฒิธรรม, ๒๕๔๑ )

สุลักษณ์ ศิวรักษ์. “จริยธรรมในสังคมไทย ในทัศนะของฝ่ายศาสนา” ใน ศาสนากับสังคมไทย (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เทียนวรรณ , ๒๕๒๕ 


ที่มา :  http://v1.midnightuniv.org/midnightweb/newpage3.html

#ความจริงอิงกับธรรมชาติ

 

ส่งความคิดเห็น

Your email address will not be published. Required fields are marked *