มือถือ: 063 516 6296 โทร: 0 2956 6118 โทรสาร: 0 2956 6117 komcharne@gmail.com

ไม่พบผลลัพธ์

ไม่พบหน้าที่คุณค้นหา ลองปรับการค้นหาหรือใช้แผงควบคุมด้านบนเพื่อค้นหาโพสต์

อาหารซ่อนเค็ม Infographics

อาหารซ่อนเค็ม Infographics

มูลนิธิหมอชาวบ้าน สื่อเรียนรู้ – อาหารซ่อนเค็ม เกลือ เป็นเครื่องปรุงที่นิยมใช้เพิ่มรสชาติและถนอมอาหาร ปัจจุบันคนไทยบริโภคโซเดียมเฉลี่ย 4,400 มิลลิกรัมต่อวัน ทั้งที่เราควรบริโภคเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวันหรือคิดเป็นโซเดียม 2,000 มิลลิกรัมเท่านั้น ลองมาวัดปริมาณโซเดียมที่เรากินอาหารแต่ละอย่างมีมากน้อยแค่ไหน และจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอย่างไรด้วยตนเอง กับสื่อเรียนรู้ – อาหารซ่อนเค็ม ‪#‎ฉลาดรู้‬ ‪#‎ฉลาดคิด‬ ‪#‎ฉลาดเลือก‬ … ‪#‎KuuNe‬ ‪#‎คูเน่‬ ‪#‎นวัตกรรมผงปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ‬ ‪#‎โซเดียมต่ำ‬ ‪#‎ไม่มีเนื้อสัตว์‬ ‪#‎ผงชูรส‬ ‪#‎สารเคมีปรุงแต่งกลิ่นสีรส‬ ‪#‎ปลอดสารเคมี‬ ‪#‎ธรรมชาติ‬100% ‪#‎2in1‬ ‪#‎ใช้ปรุงอาหาร‬ ต้ม ผัด แกง ทอด หมัก และ ยำ หรือ ‪#‎ใช้ชงดื่มบำรุงสุขภาพ‬ ‪#‎ใส่บาตรถวายพระใช้เป็นเครื่องดื่มระหว่างวัน‬ ‪#‎หอมชงปานะ‬ จากผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตร ได้รับ ‪#‎รางวัลชนะเลิศ‬         www.ptpfoods.com www.facebook.com/kuunepage Line Id :... อ่านเพิ่มเติม
ฐานคิดของจริยธรรมและการวิจัยในโลกสมัยใหม่Ethical Thinking in Modern Researchesอรศรี งามวิทยาพงศ์

ฐานคิดของจริยธรรมและการวิจัยในโลกสมัยใหม่Ethical Thinking in Modern Researchesอรศรี งามวิทยาพงศ์

ฐานคิดของจริยธรรมและการวิจัยในโลกสมัยใหม่Ethical Thinking in Modern Researchesอรศรี งามวิทยาพงศ์   หัวข้อหลักสำหรับบทความชิ้นนี้ประกอบด้วยบทนำ ๑. ฐานคิดทางจริยธรรม ๒.จริยธรรมในทัศนะใหม่ ๓. เกณฑ์วินิจฉัยจริยธรรมกับการวิจัย ๔. ความสัมพันธ์เชิงพัฒนาของจริยธรรมและการวิจัย บรรณานุกรม บทนำ    หาก เราสำรวจและสังเกตบทความต่าง ๆ ที่นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับจริยธรรมในการวิจัยนั้น เรื่องของ”สิทธิ, ความซื่อสัตย์ , ความรับผิดชอบ” มักถือเป็นกรอบหรือเกณฑ์หลักของการวินิจฉัยระดับจริยธรรมในการวิจัยทั้งก่อน – ระหว่าง – หลังการวิจัย โดยครอบคลุมทั้งผู้วิจัย ผู้ถูกวิจัย ผู้ใช้งานวิจัย ผู้ให้ทุนวิจัย ฯลฯ แม้กรอบหรือเกณฑ์วินิจฉัยจะอยู่ใน ๓ ประเด็นดังกล่าวเป็นส่วนใหญ่ แต่กระนั้นก็ยังหาข้อสรุปเดียวกันได้ยาก จึงยังมีประเด็นโต้แย้งอย่างหลากหลายในเรื่องจริยธรรมและการวิจัยอยู่อย่าง ต่อเนื่อง ว่าอะไรผิดหรือไม่ผิดจริยธรรม ซึ่งในความเห็นของผู้เขียนคิดว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดทัศนะที่แตกต่างกันนั้นน่าจะมาจาก :๑. ความแตกต่างในฐานคิดของ”จริยธรรม” ทำให้เกิดมุมมองทางจริยธรรมที่แตกต่างกัน ตามคำนิยามและคุณค่าที่กำหนดในจริยธรรมนั้น ๆ เหมือนดังบทความของ Donna L. Deyhle , G. Alfred Hess, Jr. และ Magaret D.LeCompte ชื่อ Approach Ethical Issues for Qualitative Researchers in Education ที่เสนอทฤษฎีจริยธรรม ๕ แบบ (ของ William S. May) เพื่อเป็นกรอบหรือฐานคิดแบบหลวม ๆ เพื่อตอบคำถามว่า “อะไรคือจริยธรรมในการวิจัย ( What is ethical Research ? ) โดยที่แต่ละแบบก็จะมีมุมมองจริยธรรมแตกต่างกันเช่นเดียวกับทัศนะที่มีต่อ การวิจัย ดังนั้นหากรวมฐานคิดของจริยธรรม และการให้ความหมาย”การวิจัย”ในทัศนะอื่น ๆ เข้าไปอีก ความหลากหลายในประเด็นจริยธรรมกับการวิจัยก็คงจะมีมากยิ่งขึ้นไปอีก ๒. ข้อเท็จจริงที่ว่าการวิจัยมิได้เกิดขึ้นท่ามกลางสูญญากาศ หากเกิดขึ้นและปฏิบัติการท่ามกลางความเชื่อ ค่านิยม ระบบอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของมนุษย์และสังคมนั้น ๆ สภาพการณ์นี้ทำให้เรามักพบเสมอว่า มาตรฐานจริยธรรมในการวิจัยกำหนดได้ยาก ไม่เป็นสากล และเป็นสาเหตุทำให้เกิดจริยธรรมที่มีมาตรฐาน ๒ ระดับ ( double standard ) ที่แตกต่างกันต่อเรื่องเดียวกัน เช่นมาตรฐาน ทางจริยธรรมเมื่อทำวิจัยในประเทศพัฒนา จะแตกต่างจากในประเทศด้อยพัฒนา ทั้ง ๆ ที่เป็นนักวิจัยหรือการวิจัยในเรื่องเดียวกัน คือในสังคมซึ่งรู้จักสิทธิ และสนใจสิทธิของตนเอง นักวิจัยอาจจำเป็นจะต้องจำกัดสิทธิของตนเองด้วยการยืดถือจริยธรรมเป็นกรอบ แต่ในสังคมซึ่งยังขาดสิทธิ หรือไม่รู้จักสิทธิของตนเอง นักวิจัยก็มีโอกาสที่จะใช้สิทธิในการวิจัยตามความต้องการของตนเองได้มาก ในลักษณะนี้ จริยธรรมเกิดขึ้นจากการควบคุมของภายนอก ซึ่งผู้วิจัยหรือให้ทุนวิจัยที่ขาดจิตสำนึกจากภายใน ก็อาจจะหาวิธีและโอกาสหลีกเลี่ยงหรือสร้างข้ออ้างที่ชอบธรรมขึ้นมา เมื่องานของตนเองถูกวิจารณ์ในแง่จริยธรรมการ วิจัยแบบนี้จึงมิได้ช่วยพัฒนารากฐานแห่งความคิดทางจริยธรรมของนักวิจัย และทำให้เรื่องของจริยธรรมกลายเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงตามสภาพภายนอก มิใช่เรื่องในวิถีชีวิตปกติ เหมือนดังที่บทความของ Donna L. Deyhle และคณะเสนอไว้ในบทสรุปว่า จริยธรรมมิใช่ประเด็นที่จะพูดถึงเมื่อนักวิจัยจะลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล หรือเมื่อจะทำวิจัยเท่านั้น หากจริยธรรมเป็นเรื่องของวิถีชีวิตหรือการประพฤติปฏิบัติในทุกขณะของชีวิต บุคคลสาระที่ผู้เขียนสนใจ และพยายามที่จะคิดแล้วนำเสนอให้สืบเนื่องจากประเด็นที่กล่าวมาข้างต้น คือ๑.ฐานคิดทางจริยธรรมตามทัศนะของผู้เขียน และฐานคิดดังกล่าวนำไปสู่กรอบหรือเกณฑ์การวินิจฉัยประเด็นจริยธรรมในการวิจัยอย่างไร๒. หากเราต้องการให้จริยธรรมในการวิจัยเป็นเรื่องของวิถีชีวิต มิใช่เป็นเรื่องที่จะคิดถึงเฉพาะเวลาจะลงเก็บข้อมูล หรือคิดจะทำวิจัยเท่านั้น ฐานคิดของการวิจัยและจริยธรรมจะต้องเป็นอย่างไร เชื่อมโยงกันอย่างไร๑. ฐานคิดทางจริยธรรม ใน ทัศนะของผู้เขียน เห็นว่าจริยธรรมจะเป็นวิถีชีวิตและมาจากจิตวิญญาณภายในได้นั้นจะต้องมีฐาน คิดที่เชื่อมโยงเข้ากับสิ่งสูงสุดในธรรมชาติ ซึ่งในทางพุทธศาสนาคือกฎแห่งธรรมชาติ(หรือในศาสนาอื่นคือพระเจ้า) ในหลักการของพุทธศาสนานั้น จริยธรรมคือวิถีการประพฤติปฏิบัติของบุคคลเพื่อสัมพันธ์กับสิ่งภายนอก แล้วความสัมพันธ์นั้นก็กลับมาพัฒนาบุคคลเองด้วย จริยธรรมแบ่งเป็น ๒ ระดับ คือในทัศนะของผู้ เขียน เห็นว่าจริยธรรมจะเป็นวิถีชีวิตและมาจากจิตวิญญาณภายในได้นั้นจะต้องมีฐาน คิดที่เชื่อมโยงเข้ากับสิ่งสูงสุดในธรรมชาติ ซึ่งในทางพุทธศาสนาคือกฎแห่งธรรมชาติ(หรือในศาสนาอื่นคือพระเจ้า) ในหลักการของพุทธศาสนานั้น จริยธรรมคือวิถีการประพฤติปฏิบัติของบุคคลเพื่อสัมพันธ์กับสิ่งภายนอก แล้วความสัมพันธ์นั้นก็กลับมาพัฒนาบุคคลเองด้วย จริยธรรมแบ่งเป็น ๒ ระดับ คือในทัศนะของผู้ เขียน เห็นว่าจริยธรรมจะเป็นวิถีชีวิตและมาจากจิตวิญญาณภายในได้นั้นจะต้องมีฐาน คิดที่เชื่อมโยงเข้ากับสิ่งสูงสุดในธรรมชาติ ซึ่งในทางพุทธศาสนาคือกฎแห่งธรรมชาติ(หรือในศาสนาอื่นคือพระเจ้า) ในหลักการของพุทธศาสนานั้น จริยธรรมคือวิถีการประพฤติปฏิบัติของบุคคลเพื่อสัมพันธ์กับสิ่งภายนอก แล้วความสัมพันธ์นั้นก็กลับมาพัฒนาบุคคลเองด้วย จริยธรรมแบ่งเป็น ๒ ระดับ คือในทัศนะของผู้ เขียน เห็นว่าจริยธรรมจะเป็นวิถีชีวิตและมาจากจิตวิญญาณภายในได้นั้นจะต้องมีฐาน คิดที่เชื่อมโยงเข้ากับสิ่งสูงสุดในธรรมชาติ ซึ่งในทางพุทธศาสนาคือกฎแห่งธรรมชาติ(หรือในศาสนาอื่นคือพระเจ้า) ในหลักการของพุทธศาสนานั้น จริยธรรมคือวิถีการประพฤติปฏิบัติของบุคคลเพื่อสัมพันธ์กับสิ่งภายนอก แล้วความสัมพันธ์นั้นก็กลับมาพัฒนาบุคคลเองด้วย จริยธรรมแบ่งเป็น ๒ ระดับ คือ๑.๑ จริยธรรมในระดับสมมุติสัจจะ เป็นจริยธรรมระดับของคุณธรรมหรือศีลธรรมซึ่งกำหนดขึ้นจากระบบความเชื่อหรือ คุณค่าของสังคมนั้น ๆ เพื่อการอยู่ร่วมกัน ซึ่งแต่ละสังคมอาจแตกต่างกันไปได้ ตามเงื่อนไขสภาวะแวดล้อมและสภาพสังคมแต่ละยุคแต่ละถิ่น เช่น การเอื้อเฟื้อให้ที่นั่งแก่เด็ก เป็นความดีในสังคมไทย แต่ในสังคมซึ่งมีความเชื่อว่า มนุษย์พึงได้รับการฝึกให้ช่วยตนเองให้มากที่สุด เช่น สังคมญี่ปุ่น การลุกให้เด็กนั่ง ไม่ถือเป็นความดี เพราะในสังคมอุตสาหกรรมการช่วยตนเองได้เป็นคุณธรรมอย่างหนึ่ง จริยธรรมระดับนี้ จึงถูกกำหนดโดยมนุษย์ และอาจเปลี่ยนแปลงตามค่านิยม ยุคสมัย ( ทุนนิยมมีจริยธรรมแบบหนึ่ง สังคมนิยมอีกแบบหนึ่ง) จริยธรรมในระดับนี้ จะสร้างความสงบสุขในสังคมได้เพียงใด ขึ้นกับว่าจริยธรรมนั้น อิงอยู่บนฐานของจริยธรรมระดับปรมัตถ์สัจจะ (ความจริงสูงสุดตามธรรมชาติ) หรือระดับที่ ๒ มากเพียงใด๑.๒ จริยธรรมระดับปรมัตถ์สัจจะ คือจริยธรรมที่ตั้งอยู่บนสัจจะสูงสุดหรือกฎความจริงของโลก ไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลา สถานที่ บุคคล สังคม ฯลฯ เป็นจริยธรรมที่ไม่ได้กำหนดโดยมนุษย์ หากแต่เป็นกฎเกณฑ์ของธรรมชาติที่อยู่เหนือสรรพชีวิตและสรรพสิ่งในโลก กำหนดให้มนุษย์ต้องทำตาม เพื่อให้เกิดสมดุลและปกติภาวะในการดำรงอยู่ของโลก กฎเกณฑ์ธรรมชาติหรือปรมัตถ์สัจจะดังกล่าวคือ สรรพสิ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเป็นองค์รวม ในเชิงพึ่งพาอาศัย ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเสมอ ความสัมพันธ์นี้เชื่อมโยงอยู่ในลักษณะเป็นเหตุปัจจัยของกันและกัน สิ่งนี้เป็นเหตุให้เกิดสิ่งนี้ ต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ ( ความรู้ในเรื่องนิเวศวิทยา ช่วยยืนยันสภาวะความสัมพันธ์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ) มนุษย์ในฐานะปัจจัยย่อยหนึ่งของระบบธรรมชาติย่อมต้องขึ้นกับกฎธรรมชาตินี้ ด้วย ในทัศนะของพุทธศาสนา มนุษย์มิได้เป็นศูนย์กลางของธรรมชาติ(โลก) ที่สามารถอยู่อย่างเอกเทศ มีอำนาจในการควบคุมธรรมชาติเหมือนความคิดความเชื่อของปรัชญาตะวันตก ซึ่งเป็นฐานคิดของวิทยาศาสตร์แบบวัตถุหรือปริมาณดัง นั้น การจัดระบบความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่ปราศจากความยุติธรรม มีการเอารัดเอาเปรียบ เอาแต่ได้ฝ่ายเดียว จึงเป็นสภาวะที่ขัดกับกฎธรรมชาติ สังคมนั้นไม่สามารถจะมีสันติภาพ (สันติภาวะ) คือสมดุลหรือดุลยภาพได้ เช่นเดียวกับการที่มนุษย์สัมพันธ์กับระบบนิเวศอย่างไม่สมดุล คือใช้ความรู้ในวิทยาศาสตร์ สร้างเทคโนโลยีเพื่อเอาชนะข้อกำหนดของธรรมชาติ เพื่อสนองความต้องการหรือความพอใจ(ซึ่งไม่ที่ที่สิ้นสุด)ของมนุษย์ พฤติกรรมนี้จะทำลายความสัมพันธ์ในระบบนิเวศที่ซับซ้อนเกินความหยั่งรู้ของ มนุษย์ ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ... อ่านเพิ่มเติม
Page 12 of 12« First...89101112

ไม่พบผลลัพธ์

ไม่พบหน้าที่คุณค้นหา ลองปรับการค้นหาหรือใช้แผงควบคุมด้านบนเพื่อค้นหาโพสต์

all logo

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ บริษัท ปกธนพัฒน์ จำกัด
คุณคมชาญ มือถือ 086 791 7007
โทร. 0 2956 6118 โทรสาร 0 2956 6117
E-mail : komcharne@gmail.com
facebook : Kuu Ne คูเน่ (facebook.com/KuuNePage)
Line id : OatEcho