ไม่พบผลลัพธ์
ไม่พบหน้าที่คุณค้นหา ลองปรับการค้นหาหรือใช้แผงควบคุมด้านบนเพื่อค้นหาโพสต์
ไม่อยากอ้วน…กินอย่างไรดี
ไม่อยากอ้วน…กินอย่างไรดี หัวใจ สำคัญ คือ กินอาหารให้ครบหมวดหมู่ โดยเน้นการกินผักให้มากขึ้น กินไขมันให้น้อยลง กินข้าวแป้ง เนื้อสัตว์ และผลไม้พอประมาณ การกินอาหารให้ครบหมวดหมู่อย่างหลากหลายเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ร่างกายได้ รับสารอาหารต่างๆ ที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย พร้อมกับมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วย 1.การกินอาหารให้ครบ 3 มื้อ อาหาร มื้อเช้าหรือมื้อกลางวันจะต้องให้พลังงานกับร่างกายมากกว่ามื้อเย็น อาหารเช้าจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า มีสมาธิทั้งในการเรียนและการทำงาน ผู้ที่กินอาหารเช้าทุกวัน จะมีโอกาสเกิดภาวะอ้วน และโรคเบาหวานน้อยกว่าผู้ที่ไม่กินอาหารเช้าถึงร้อยละ 35-50 อาหารเช้าที่เหมาะสมนั้น ควรมีค่าพลังงานและสารอาหารอย่างน้อย 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25 ของปริมาณที่ควรจะได้รับตลอดวัน ส่วนมื้อกลางวันและมื้อเย็นควรอยู่ที่ร้อยละ 35 และร้อยละ 30 ตามลำดับ และที่เหลือเป็นอาหารว่าง ร้อยละ 10 หลีกเลี่ยงอาหารว่างหรืออาหารระหว่างมื้อ อาหาร ระหว่างมื้อนี้ไม่มีความจำเป็นต่อผู้ใหญ่ทั่วไป ยกเว้นในเด็กที่ต้องการการเจริญเติบโตและในคนบางกลุ่มที่อาจมีปัญหาในการ ย่อยและดูดซึมที่ต้องกินอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้งขึ้น อาหารว่างระหว่างการประชุมเป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้คนเราได้รับพลังงานมาก เกินไป ควรระวังไม่ดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มประเภทมอลต์รสช็อกโกแลตมากเกินไป โดยเฉพาะที่เป็นเครื่องดื่มปรุงสำเร็จประเภท “ทรีอินวัน” ซึ่งจะให้พลังงานมากกว่าการชงดื่มเอง 3.อาหารไขมัน ตัวการความอ้วน สาร อาหารที่ให้พลังงานกับร่างกายสูงมากที่สุดคือไขมัน ซึ่ง 1 กรัมของไขมันให้พลังงานมากถึง 9 กิโลแคลอรี การลดการกินไขมันลง จะช่วยควบคุมไม่ให้ได้รับพลังงานเกินความต้องการได้ จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภททอด หรือผัดที่มีการใช้น้ำมันมากๆ นอกจากนี้ยังต้องระวังไม่กินอาหารประเภทเนื้อสัตว์มากเกินไปด้วย ปรับเปลี่ยนวิธีการประกอบอาหารเป็นการต้ม นึ่ง ย่าง แทนการทอด ผัด อาหารที่มีไขมันอีกชนิดที่ต้องระมัดระวังด้วย คือ ส่วนประกอบของเนย นม ไข่แดง กะทิ เช่น ผลิตภัณฑ์เบเกอรีต่างๆ จำพวก เค้ก คุกกี้ พาย น้ำสลัด ไอศกรีม เป็นต้น 4.กินข้าวแป้งแต่พอดี ไม่อ้วน อาหาร กลุ่มข้าวแป้ง แม้ว่าจะให้พลังงานน้อยกว่าไขมัน แต่สามารถถูกเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในร่างกายได้ง่าย จึงควรกินแค่พอประมาณ คือประมาณมื้อละ 2-3 ทัพพี ในคนที่ต้องการลดน้ำหนักจะต้องลดปริมาณลงจากที่เคยกิน เช่น ลดจาก 4 ทัพพีเป็น 3 ทัพพี เป็นต้น ร่วมกับการระวังไม่กินไขมันมากเกินไปและการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นบ้าง จะทำให้น้ำหนักลดลงได้ประมาณ 2 กิโลกรัมต่อเดือน ซึ่งถือว่าเป็นการลดน้ำหนักที่ค่อยเป็นค่อยไปโดยที่ไม่เกิดผลเสียกับสุขภาพ 5.ผัก ผลไม้ เส้นใยอาหาร กับการลดน้ำหนัก ผัก มีส่วนประกอบของเส้นใยอาหารมาก นอกจากช่วยในการขับถ่ายแล้ว ยังช่วยทำให้รู้สึกอิ่ม และทำให้ได้รับสารธรรมชาติที่เป็นประโยชน์กับร่างกายด้วย ถ้าเป็นไปได้อาหารทุกมื้อจำเป็นต้องมีผักเป็นส่วนประกอบ ด้วยการกินผักให้ได้วันละประมาณ 6 ทัพพี ส่วนการกินผลไม้ แนะนำให้กินแค่พอประมาณ คือครั้งละ 6-8 ชิ้นคำ วันละ 2-3 ครั้ง หลายคนมักเข้าใจผิดว่ามื้อเย็นไม่กินข้าว ขอกินผลไม้แทน พบว่าไม่ทำให้น้ำหนักลดลงแต่อย่างใด เพราะผลไม้ที่กินบางชนิดมีน้ำตาลและพลังงานค่อนข้างมากตามปริมาณที่กิน 6.กินอาหารโปรตีนสูง เพื่อลดน้ำหนัก แนว คิดของการกินอาหารโปรตีนสูง คาร์โบไฮเดรตต่ำ เพื่อลดน้ำหนัก ซึ่งมักเรียกกันว่า อาหาร “Low Carb” ที่เน้นให้กินอาหารประเภทโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ ไข่ มากขึ้นโดยไม่จำกัด แต่ให้ลดการกินข้าว แป้ง น้ำตาล รวมทั้งคาร์โบไฮเดรตที่อยู่ในผัก ผลไม้ และนมลงด้วย แม้ว่าจะทำให้น้ำหนักลดลงได้จริง แต่ก็มีผลข้างเคียงของการมีสารคีโทนมากๆ คือ คลื่นไส้ ปวดศีรษะ และลมหายใจมีกลิ่นคล้ายสารระเหยออกมา การกินอาหารแบบนี้ในระยะยาวจะเพิ่มภาระการทำงานแก่ตับและไต และยังทำให้ได้รับไขมันประเภทอิ่มตัวที่มากับเนื้อสัตว์สูงขึ้นด้วย จึงมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากขึ้น และการไม่ได้รับผักผลไม้มากเพียงพอ ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งมากขึ้นด้วย ที่มา : https://www.facebook.com/folkdoctorthailand/posts/10153224988412028:0 หากว่า ต้องการตัวช่วยในการควบคุมน้ำหนัก ลดไขมัน ควบคุมระดับน้ำตาล เร่งการเผาผลาญ ปลอดสารเคมี ผลิตจากธรรมชาติ อุดมด้วยแร่ธาตุวิตามิน ผลงานวิจัยค้นคว้าพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับ ม.เกษตรฯ ขอแนะนำ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Kuu Ne F&F คูเน่ เอฟแอนด์เอฟ http://www.ptpfoods.com/2015/02/kuune-f.html... อ่านเพิ่มเติม5 เหตุผลที่ช่วยให้การตัดสินใจเลือกหาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ได้ถูกต้องและมั่นใจ
ในท้องตลาดทุกวันนี้ มีผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ จำนวนมาก ของจริงดีแท้มีแน่ แต่ของแย่ๆ โฆษณาแอบอ้างเกินจริงแต่งเติมปลอมปนสารต้องห้าม ไม่ก็สารเคมีก็แยะ แล้วผู้บริโภคจะรู้ได้อย่างไรละ? 5 เหตุผลที่ช่วยให้การตัดสินใจได้ถูกต้องและมั่นใจขึ้น 1. ผลิตภัณฑ์ผ่านการวัจัยค้นคว้าจากสถาบัน / องค์กรเป็นที่ยอมรับ 2. ผลิตภัณฑ์ผ่านการตรวจวิเคราะห์ จากสถาบันที่เชื่อถือได้ 3. ผลิตและจำหน่ายโดยบริษัท หรือ องค์กร ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีตรง 4. ได้รับเครื่องหมายรับรองถูกต้อง 5. ตรวจสอบฉลากบอกรายละเอียดครบถ้วน ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โดยบริษัท ปกธนพัฒน์ จำกัด คูเน่ ผงปรุงครบรสซองสีแดง สูตรธรรมดา คูเน่ ผงปรุงครบรสซองสีขาว สูตรโซเดียมต่ำ คูเน่ F&F เสริมอาหารควบคุมน้ำหนัก ผลงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมผ่านการตรวจวิเคราะห์จากสถาบันอาหาร และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ภายใต้มาตรฐานการผลิต GMP ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ หนึ่งในผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ คูเน่ จากเดิมคุณป้าและคุณลูกหาซื้อที่ห้างฯ มาใช้แล้วถูกใจ เป็นลูกค้าประจำ เลือกทำเมนูอาหารสุขภาพมากมาย จนวันนี้ต้องสั่งซื้อจำนวนมาก มีโอกาสได้พูดคุยกันถึงบางอ้อ คุณป้า อายุปัจจุบัน 76 คุณลูก 54 ทุกคนกระฉับกระเฉง สุขภาพดียิ้มแย้มแจ่มใสอารมณ์ดี ดูภาพไม่เชื่อสายตาขออนุญาตดูบัตรประจำตัวประชาชน ผิวหนังร่องรอยมีน้อยมากสุขภาพดีจริงๆ คุณน้าครับ www.ptpfoods.com www.facebook.com/kuunepage Line id : OatEcho คมชาญ 086-791 7007... อ่านเพิ่มเติมสุขภาพ เป็นพื้นฐานสำคัญในการดำรงชีวิต… และสุขภาพกับคุณภาพชีวิต
สุขภาพ เป็นพื้นฐานสำคัญในการดำรงชีวิต… “สุขภาพ” ตามคำนิยามขององค์การอนามัยโลก หมายถึง ความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย จิตใจ สังคม และ จิตวิญญาณ ซึ่งความสมบูรณ์ของร่างกายคือการที่ร่างกายของเรามีความแข็งแรง คล่องแคล่ว ไม่เป็นโรค และไม่พิการ ความสมบูรณ์ทางจิตคือ การที่เรามีจิตใจที่เป็นสุข ร่าเริง มีสติ ความสมบูรณ์ทางสังคมคือ การอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีครอบครัวที่อบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง และความสมบูรณ์ทางจิตวิญญาณเกิดขึ้นเมื่อเราทำความดี เช่น รู้จักการเสียสละ มีความเมตตากรุณา เป็นต้น สุขภาพที่ดีจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับทุกคน ผู้ ที่มีสุขภาพดี สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มความสามารถ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ควรจะดูแลรักษาสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ ร่างกายเจริญเติบโตและมีพัฒนาการอย่างสมวัย เรียนรู้และเข้าใจ สุขศึกษาและพลศึกษา สุขศึกษา และพลศึกษา เป็นการศึกษาด้านสุขภาพสู่การมีสุขภาพดี อันมีเป้าหมายเพื่อการดำรงสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพและการพัฒนา คุณภาพชีวิต ของบุคคล ครอบครัว และชุมชนให้ยั่งยืน สุขศึกษา มุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนาพฤติกรรม ด้านความรู้ เจตคติ คุณธรรม ค่านิยม และการปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพควบคู่ไปด้วยกัน พลศึกษา มุ่งเน้นให้ผู้เรียนใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกมและกีฬาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาโดยรวม ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา รวมทั้งสมรรถภาพเพื่อสุขภาพและกีฬา โดยมีสาระในการเรียนรู้ 5 กลุ่ม คือ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติของ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต ความสัมพันธ์เชื่อมโยงในการทำงานของระบบต่างๆของร่างกาย รวมถึงวิธีปฏิบัติตนเพื่อให้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมวัย ชีวิตและครอบครัว เป็นการเรียนรู้เรื่องคุณค่าของตนเองและครอบครัว การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ความรู้สึกทางเพศ การสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่น สุขปฏิบัติทางเพศ และทักษะในการดำเนินชีวิต การ เคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล เป็นการเรียนรู้เรื่องการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ การเข้าร่วมกิจกรรมทางกายและกีฬา ทั้งประเภทบุคคล และประเภททีมอย่างหลากหลายทั้งไทยและสากล การปฏิบัติตามกฎ กติกา ระเบียบ และข้อตกลงในการเข้าร่วมกิจกรรมทางกายและกีฬา และความมีน้ำใจนักกีฬา การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ และการป้องกันโรค เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักและวิธีการเลือกบริโภคอาหาร ผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพ การสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ และการป้องกันโรค ทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ความปลอดภัยในชีวิต นักเรียนจะได้เรียนรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ทั้งความเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ ความรุนแรง อันตรายจากการใช้ยาและสารเสพติด รวมถึงแนวทางในการสร้างเสริมความปลอดภัยในชีวิต ที่มา : http://healthykid.moph.go.th/index.php/2013-05-21-07-22-50 สุขภาพกับคุณภาพชีวิต โดย อาจารย์อรวรรณ น้อยวัฒน์ ประเทศ ไทยมีเป้าหมายทางการแพทย์และการสาธารณสุขที่สำคัญประกอบด้วย 2 ส่วน คือ การมีอายุยืนยาวและการมีคุณภาพชีวิตที่ดี การที่ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงในทุกช่วงวัยทำให้มีอายุยืนยาวเมื่อเข้าสู่ วัยผู้สูงอายุ ซึ่งการมีอายุยืนยาวไม่เจ็บป่วยเป็นโรค เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต เนื่องจากคุณภาพชีวิตประกอบด้วยสุขภาพในหลายด้านรวมกัน ได้แก่ สุขภาพด้านกายภาพ (physical health) สุขภาพด้านจิตใจ (mental health) สุขภาพด้านสังคม (social health) และภาวะสุขภาพโดยทั่วไป (general health) โดยองค์การอนามัยโลกได้ให้คำนิยามของ “สุขภาพ” ว่าไม่ใช่แต่เพียงการปราศจากโรค แต่หมายถึงการมีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ซึ่งจะสอดคล้องกับนิยามของคุณภาพชีวิตที่กล่าวว่า “คุณภาพชีวิต” เป็นการรับรู้ความพึงพอใจและสถานะของบุคคลในการดำรงชีวิตในสังคม โดยจะสัมพันธ์กับเป้าหมายและความคาดหวังของตนเอง ภายใต้บริบทของวัฒนธรรม ค่านิยม มาตรฐานของสังคม และสิ่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (The WHOQOL group, 1994 อ้างถึงใน วรรณา กุมารจันทร, 2543: 4) โดยทั่วไปแล้วบุคคลที่มีสุขภาพที่สมบูรณ์ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ 1) สุขภาพทางกาย (Physical Health) คือ มีสภาพร่างกายที่ดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และมีการพัฒนาที่เหมาะสมกับวัย สังเกตได้จากการที่บุคคลนั้นมีความสมบูรณ์แข็งแรง ระบบและอวัยวะทุกส่วนทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพ ร่างกายมีสมรรถภาพสูง สามารถทำงานได้นาน ๆ โดยไม่เหนื่อยง่าย การนอนและการพักผ่อนเป็นไปตามปกติ ผิวพรรณผุดผ่อง รูปร่างทรวดทรงสมส่วน เป็นต้น 2) สุขภาพทางจิต (Mental Health) คือ มีสภาพจิตปกติ สามารถปรับตัวให้เข้ากับบรรยากาศของสังคมได้ทุกระดับชั้น สามารถควบคุมอารมณ์ได้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งผู้มีสุขภาพจิตดี ย่อมมีผลมาจากสุขภาพกายดีด้วย หรือคำกล่าวที่ว่า “จิตใจที่แจ่มใส ย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์” 3) สุขภาพทางสังคม (Social Health) คือ การมีสภาพของความเป็นอยู่หรือการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ไม่ทำให้ผู้อื่นหรือสังคมเดือดร้อน สามารถเข้ากับบุคคลและชุมชนได้ทุกสถานะอาชีพ ไม่เป็นคนถือตัว ไม่เป็นคนเอารัดเอาเปรียบบุคคลอื่น เป็นที่เคารพรักและเป็นที่นับถือของคนทั่วไป ส่วนคุณภาพชีวิตที่ดีนั้นประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) ด้านร่างกาย ได้แก่ โครงสร้างทางร่างกายและสุขภาพร่างกาย รวมถึงด้านบุคลิกภาพด้วย 2) ด้านจิตใจ ได้แก่ สภาพจิตใจและสุขภาพจิต รวมถึงด้านคุณธรรมและจริยธรรมด้วย 3) ด้านสังคม ได้แก่ สถานะทางสังคม ยศ ตำแหน่ง เกียรติยศชื่อเสียง การยอมรับนับถือ รวมถึงการมีมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วย 4) ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ สถานะทางเศรษฐกิจการเงินและรายได้ที่มั่นคง จากองค์ประกอบของชีวิตเหล่านี้ ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะกฎของธรรมชาติ คือ มีการเกิด มีแก่ มีเจ็บ และมีการตายจากไป จึงทำให้มนุษย์เกิดความต้องการด้านต่างๆ ที่จะเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อมุ่งความสำเร็จให้แก่ตนเองสืบต่อ ไป เมื่อนำเรื่องสุขภาพมาพิจาราณาประกอบกับเรื่ององค์ประกอบของคุณภาพชีวิต แล้วจะพบว่า องค์ประกอบของการมีสุขภาพดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม เป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดัง นั้น การพัฒนาตนเองเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงควรพัฒนาสุขภาพในด้านร่างกาย ได้แก่ การให้ความสำคัญกับสุขภาพ การบริโภคอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ การพักผ่อนให้เพียงพอ การออกกำลังเป็นประจำ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ การพัฒนาทางด้านอารมณ์ ได้แก่ การสร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดี รู้จักควบคุมอารมณ์ การทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ การเข้าร่วมกิจกรรมสันทนาการ การฝึกสมาธิ การพัฒนาทางด้านสังคม อันได้แก่ การเข้า ร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆ หรือจากหน่วยงานต่างๆ ที่จัดขึ้น การใช้เวลาว่างบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน... อ่านเพิ่มเติมไม่พบผลลัพธ์
ไม่พบหน้าที่คุณค้นหา ลองปรับการค้นหาหรือใช้แผงควบคุมด้านบนเพื่อค้นหาโพสต์